หมวดหมู่ - แพ่ง
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องให้เพื่อนกู้ยืมเงินไปจำนวน 150,000 บาท โดยเขียนสัญญาที่ซื้อมาจากร้านขายเครื่องเขียน ลงนามพยานคนเดียว ได้เงินคืนมาเดือนละ 4,000 บาท ผ่านมาเป็นเวลา 1 ปี ผู้ร้องได้ทวงถามเงินกับผู้ยืม แล้วผู้ร้องได้รับคำตอบว่าให้รออีก 4 ปี
ประเด็นคำถาม
1.หากจะฟ้องคดีจะมีอายุความหรือไม่
2.การให้ทนายความทวงถามจะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องซื้อทาวเฮ้าส์หลังหนึ่งจำเป็นต้องได้รับภาระจำยอมจากเจ้าของที่ดินแปลงด้านหน้าเพื่อให้สามารถเข้าออกหมู่บ้านได้ ก่อนซื้อบ้านดังกล่าวเจ้าของโครงการกล่าวกับผู้ร้องว่า ที่ดินแปลงพิพาทด้านหน้าโครงการได้จดทะเบียนภาระจำยอมให้โฉนดที่ดินของเจ้าของโครงการ แต่ผู้ร้องไม่ได้เห็นโฉนดที่ดินเพื่อยืนยันว่าที่ดินพิพาทของเจ้าของโครงการได้รับการจดทะเบียนภาระจำยอม ผู้ร้องจึงอยากทราบว่า
ประเด็นคำถาม
1. เจ้าของที่ดินภาระจำยอมสามารถจดทะเบียนยกเลิกทางภาระจำยอมหรือขายที่ดินที่เป็นภาระจำยอมให้บุคคลภายนอกได้หรือไม่ และสิทธิของผู้ร้องกับเจ้าของที่ดินคนใหม่มีอยู่อย่างไร
2. กรณีที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นจดทะเบียนภาระจำยอมให้ ต่อมาที่ดินสามยทรัพย์นั้นได้ถูกแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ภาระจำยอมจะตกติดไปกับที่ดินสามยทรัพย์แปลงที่ได้แบ่งแยกได้หรือไม่ อย่างไร
ข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2554 คุณสุดารัตน์ได้ขายสิทธิการเช่าแผงหมูที่ตลาดสดยิ่งเจริญเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท แก่ผู้ร้อง ในการซื้อขายสิทธิดังกล่าวผู้ร้องได้ทำเอกสารเป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้ร้องมีสิทธิครอบครองขายหมูที่แผงตลาดครึ่งหนึ่งและมีสลิปธนาคารการชำระเงินให้คุณสุดารัตน์ ผู้ร้องได้ประกอบกิจการค้าขายเรื่อยมาจนกระทั่งในเดือนมิถุนายน 2554 เนื่องจากผู้ร้องแพ้ครรภ์อย่างมากจึงไม่สามารถมาค้าขายที่แผงได้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2555 ผู้ร้องทราบว่าคุณสุดารัตน์ได้ขายสิทธิการเช่าแผงหมูครึ่งหนึ่งในส่วนของผู้ร้องให้บุคคลอื่น ผู้ร้องได้แจ้งความกับพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจบางเขนและพนักงานสอบสวนได้เรียกผู้ร้องมาให้ปากคำเรียบร้อยแล้ว ผู้ร้องทราบภายหลังว่า เงินค่าตอบแทนการขายสิทธิการเช่าแผงตลาดที่คุณสุดารัตน์ได้รับจากบุคคลภายนอกเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ผู้ร้องจึงอยากทราบว่า
ประเด็นคำถาม
1. ผู้ร้องมีสิทธิฟ้องร้องคุณสุดารัตน์ในกรณีที่ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าแผงตลาดได้หรือไม่ และจะมีผลต่อบุคคลภายนอกอย่างไร
2. ผู้ร้องมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีของคุณสุดารัตน์ได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องให้พี่ที่ทำงานยืมเงินจำนวน 40,000 บาท เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 โดยที่ผู้ยืมจะคืนเงินให้วันที่ 6 มกราคม 2555 โดยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินกันไว้แต่ในสัญญากู้ยืมเงินได้ลงวันที่ยืมเป็นวันที่ 17 ธันวาคม 2554 และจะคืนเงินวันที่ 10 มกราคม 2555 เวลาผ่านไป 2 เดือน ผู้ยืมก็ยังไม่คืนเงินให้แก่ผู้ร้องโดยได้ขอเลื่อนการคืนเงินมาเป็นเวลากว่า 5 ครั้ง ปัจจุบันผู้ร้องก็ยังไม่ได้รับคืนเงินจำนวนดังกล่าว
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องจะมีวิธีดำเนินการอย่างไรตามกฎหมายที่จะบังคับให้ผู้ที่ยืมเงินนำเงินมาคืนให้แก่ผู้ร้อง
ข้อเท็จจริง เมื่อปี 2538 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดทิ่ดิน 50 ไร่เพื่อขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินที่ดินไว้ราคา 400,000 บาท ต่อมาในปัจจุบันเนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านที่ดินจึงทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นเป็น 800,000 บาท ผู้ร้องเกรงว่าลูกหนี้จะประมูลที่ดินจากการขายทอดตลาดด้วยราคาต่ำ ผู้ร้องจึงอยากทราบว่า
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถขายทอดตลาดที่ดินตามราคาตลาด (ขณะนี้800,000 บาท) ได้หรือไม่ และมีมาตรการทางกฎหมายอย่างไร เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์ถูกขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควรอย่างไร
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีสวนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินไป เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่คัดค้านหรือไม่ก็
ตาม หาผู้ซื้อที่จะเสนอซื้อในราคาที่บุคคลดังกล่าวต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป โดยให้ผู้เสนอราคาสูงสุดต้องผูกพันกับการเสนอราคาดังกล่าวเป็นระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่เสนอราคานั้น , ประกาศคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ข้อ 1 การขายทอดตลาดแต่ละครั้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือว่าราคาเริ่มต้นเป็นราคาที่สมควรขายได้ตามมาตรา 309 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง, ข้อ 2 ในการกำหนดราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาด ในกรณีที่มีราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ แต่มีราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง และราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์และราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี, กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 ข้อ 22 ในการขายทอดตลาด หากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวโดยไม่มีการแข่งขันเสนอราคาหากไม่มีลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเจ้าของทรัพย์ หรือผู้ขอเฉลี่ย หรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์ตามที่ปรากฎทางทะเบียนมาดูแลการขายทอดตลาดและราคานั้นยังไม่เพียงพอแก่การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนทรัพย์ออกจากการขายทอดตลาดเพื่อทำการขายทอดตลาดใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ วรรคสอง ในการขายทอดตลาด ถ้าไม่มีผู้เสนอราคาตามเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนทรัพย์ออกจากการขายทอดตลาดเพื่อทำการขายทอดตลาดใหม่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี, ข้อ 2 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 8 ให้มีคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน อธิบดีกรมบังคับคดี ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นต้น วรรคสอง คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อเท็จจริง บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายและมีบุตรด้วยกันทั้งหมดเก้าคน บิดามีที่ดินผืนหนึ่งซึ่งบุตรทั้งหมดอาศัยอยู่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีบัญชีที่เปิดไว้แต่บุตรไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ใดบ้าง เมื่อต้นปีที่ผ่านมาบิดาเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้
ประเด็นคำถาม
1.บุตรไม่มีปัญหาในการแบ่งที่ดินกันเนื่องจากแต่ละคนมีบ้านอยู่บนที่ดินเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน อยากทราบว่ากรณีนี้จะต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นจะต้องกระทำการใดเป็นพิเศษหรือไม่เพื่อแบ่งที่ดินกัน แต่ละคนสามารถติดต่อกรมที่ดินเพื่อทำรางวัดและแบ่งโฉนดหรือไม่
2.เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีของบิดา จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องและสามี ไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ต่อไปได้จึงต้องเลิกกัน แต่มีภาระที่ยังผูกพันกันอยู่คือ บ้าน โดยสามีได้ใช้สิทธิพนักงานธนาคารซื้อบ้านยายแต่ไม่ได้ให้เงิน โดยนำเงินที่กู้แบงก์ไปลงทุนอย่างอื่น โดยกู้เป็นชื่อสามีและหักเงินเดือนสามีทุกเดือน แต่อยู่ด้วยกันไม่ได้จึงต้องเอาบ้านคืนมาเป็นชื่อยายเหมือนเดิม จึงตกลงแบ่งยอดหนี้ที่เหลือคนละครึ่งผ่อนกันไปเรื่อยๆ โดยดิฉันเป็นผู้ผ่อนจ่ายในส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแต่ละเดือนโดยโอนเข้าบัญชีทุกๆเดือนเท่าๆกันหรือมาจ่ายมากแล้วแต่ และตกลงจะทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน โดยสามีผู้ร้องร่างขึ้นเองกำหนดเงื่อนไขขึ้นเองทั้งหมดแล้วสามีจะยอมลงนาม แต่ผู้ร้องไม่มีความรู้ด้านนี้เลย
ประเด็นคำถาม
จะร่างสัญญาอย่างไรไม่ให้ทางสามีมีสิทธิ์เข้าไปทำการใดๆในบ้าน และจะไม่ผิดสัญญาตามที่ให้ไว้ และเมื่อผู้ร้องชำระหนี้ครึ่งหนึ่งของผู้ร้องหมดไม่ว่าเมื่อไหร่ฝ่ายสามีก็จะต้องหาเงินมาไถ่ถอนส่วนที่เหลือและพร้อมที่จะโอนบ้านคืนให้ยายทันที และในสัญญาจะต้องเป็นผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้โดยสามีไม่มีสิทธิแย้ง และที่สำคัญจะร่างสัญญาอย่างไรไม่ให้ผูกมัดผู้ร้อง ช่วยแนะนำสัญญาให้ด้วยจะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ข้อเท็จจริง นายสีและนายเสียงเป็นพี่น้องกัน เมื่อนายเสียงเข้ามาปลูกบ้านและทำสวนในที่ของนายเสียง นายสีจึงบอกให้นายเสียงเข้ามาใช้น้ำในที่ดินของนายสี และให้นายเสียงต่อไฟฟ้าจากบ้านของนายสีเข้าไปใช้ในที่ดินของนายเสียงได้ เมื่อนายสุดเข้ามาเจรจาขอซื้อที่ดินของนายเสียง นายเสียงตกลงจดทะเบียนและโอนขายที่ดินแปลงนั้นของนายเสียงให้นายสุด โดยนายสีทราบว่านายเสียงขายที่ดินให้นายสุด และนายเสียงเองก็บอกนายสุดว่าตนบอกกับนายสีให้นายสุดสามารถใช้ไฟฟ้าและน้ำในบ่อบนที่ดินของนายสีต่อไปได้ แต่เมื่อนายสุดจดทะเบียนที่ดินแปลงนั้นมา นายสีกลับให้รื้อสายไฟที่อาศัยต่อจากบ้านของนายสีออกไปและห้ามนายสุดไม่ให้เข้ามาใช้น้ำในที่ดินของนายสีอีกต่อไป
ประเด็นคำถาม
1.นายสีจะให้นายสุดรื้อสายไฟ และห้ามไม่ให้นายสุดใช้น้ำในบ่อบนที่ดินของนายสีได้ไหมครับ
อย่างไร
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องสมัครทำงานเป็นพี่เลี้ยงตามบ้าน กับ หจก แห่งหนึ่ง ที่ทำสัญญาเป็นเวลา 24 เดือนหรือ 2 ปี เงินเดือน 12,000 บาท มีอาหารและที่อยู่ให้ ไม่มีประกันสังคม มีวันหยุดแค่ 3 วันปีใหม่ 3 วันและหยุดวันแรงงาน ส่วนวันหยุดสัปดาห์ละ 1 วัน แล้วแต่จะหยุดเมื่อไหร่ ทำงานตั้งแต่ 6.30 น.และเลิก 19.00 น.
ทำงานไปประมาณ 3 เดือน มีปัญหาทางครอบครัว คือลูกป่วยไม่มีใครเลี้ยง และมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม จึงไม่สามารถมาทำงานได้ จึงส่งข้อความแจ้งให้ทาง หจก ทราบ ว่าไม่สามารถกลับมาทำงานได้ แต่ทาง หจก ได้ฟ้องศาลว่าผู้ร้องผิดสัญญาจ้าง ให้ไปไกล่เกลี่ยในวันที่ 7 มิถุนายน 55 และเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 120,000 บาท
ประเด็นคำถาม
- สัญญามีระบุว่าถ้าผิดสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องยินยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินคดี แต่สัญญามีเพียง 1 ใบ เท่านั้น ถามว่าสามารถฟ้องคดีได้หรือไม่
- ผู้ร้องสามารถฟ้องกลับได้หรือไม่ถ้าสัญญาจ้างไม่ได้ระบุอะไรเลย
- ข้อเท็จจริงของผู้ร้องที่อ้างมามีเหตุผลและมีประโยชน์เพียงพอที่จะเขียนคำให้การได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง บิดาผู้ร้องเสียชีวิต และมีการตั้งมารดาเป็นผู้จัดการมรดก ศาลมีคำสั่งตั้งมารดาผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่การจัดการมรดกมีปัญหาขัดข้องคือ รถยนต์ที่เป็นทรัพย์มรดกของบิดาผู้ร้องติดไฟแนนซ์ มารดาผู้ร้องมีความประสงค์จะจัดการเปลี่ยนชื่อเป็นผู้เช่าซื้อแทนจากเดิมบิดาผู้ร้อง(เจ้ามรดก)เป็นผู้ผ่อนชำระเป็นมารดาผู้ร้องเป็นผ่อนชำระแทน แต่เมื่อมารดาผู้ร้องนำคำสั่งศาลที่ตั้งมารดาผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์แล้ว ทางบริษัทแจ้งมาว่าคำสั่งศาลที่นำมาแสดงใช้ไม่ได้เพราะไม่ได้ระบุเลขทะเบียนรถคนดังกล่าวเอาไว้แต่ในคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกระบุไว้ในใบคำสั่งศาลว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์สิน ได้แก่ ที่ดิน รถยนตน์ 1 คัน หมายเลขทะเบียน xxxxxxx และอาจมีทรัพย์สินอื่นๆ.........”ซึ่งตามความจริงบิดาผู้ร้องมีรถยนต์ทั้งหมด 4 คัน และรถคันติดไฟแนนซ์ที่จะโอนนั้น ไม่มีอยู่ในใบคำสั่งศาล ทางบริษัทแจ้งว่าต้องไปขอคัดคำสั่งศาลใหม่สำหรับรถคันนี้เพื่อใช้ดำเนินการโอน
ประเด็นคำถาม
1.ทำไมจึงไม่สามารถใช้ใบคำสั่งศาลได้เลย ทั้งที่แต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว และถ้าหากมีทรัพย์สินเป็นร้อยรายการจะต้องระบุทั้งหมดหรือไม่ อย่างไร
2.หากต้องคัดคำสั่งศาลใหม่ต้องทำอย่างไร ไปของด้วยตัวเองได้หรือไม่ หรือต้องมีทนาย และดำเนินการอย่างไร