หมวดหมู่ - แพ่ง
ข้อเท็จจริง
ครอบครัวของผมมี 4 คน คือ พ่อ แม่ ผม และพี่สาวซึ่งแต่งงานออกไปแล้ว ตอนนี้พ่อผมกำลังทำพินัยกรรมของตัวเองอยู่ ทรัพย์สินที่มี มีทั้ง บ้าน เงินสด หุ้น ตราสาร
ประเด็นคำถาม
1.มีบ้านอยู่หนึ่งหลัง ซึ่งก็เป็นบ้านที่ครอบครัวผมอาศัยอยู่ ชิ่อในทะเบียนเป็นของแม่แต่ได้มาหลังจากการสมรส ต้องการกันใม่ให้บ้านหังนี้กลายเป็นทรัพย์มรดกเพราะกลัวว่าหากเป็นทรัพย์มรดกแล้วเกิดข้อพิพาทกันระหว่างแม่ ผมกับพี่สาวอาจถึงขั้นขายบ้านเป็นเงินเพื่อแบ่งกันวึ่งทำให้ผมกับแม่ไม่มีที่อยู่ ในขณะที่พี่สาวแต่งงานออกไปแล้ว เมื่อบ้านถูกขาย นอกจากนี้ไม่กล้าระบุในพินัยกรรมให้แม่หรือผมเพราะกลัวถูกคัดค้านที่หลังว่าไม่ยุติธรรมในการแบ่งมรดกซึ่งอาจทำให้ต้องเสียเวลาขึ้นศาล ไม่ทราบว่ามีวิธีกันไม่ให้บ้านหลังนี้เป็นทรัพย์มรดกของพ่อ เมื่อท่านเสียไปแล้วได้หรือไม่ โดยไม่ต้องจำหน่ายออกไปหรือให้บุคคลภายนอกเป้นเจ้าของ
2.ทรัพย์สินที่มิใช่ทรัพย์สินประเภทเงิน เช่น หุ้น ตราสาร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เมื่อต้องการแบ่งกันหลังจากเป็นกองมรดก ในทางปฎิบัติเขามีวิธีการแบ่งอย่างไร เอาหุ้นทุกตัวมารวมกันแล้วแบ่งตามส่วนหรือแบ่งหุ้นทุกตัวเลยแบบไม่นำรวมกันก่อน ( แบ่งเป็นตัวๆ )
3.คุณแม่สามารถเลือกได้ไหมว่าไม่เอาหุ้นหรือตราสารแต่ขอเป้นทรัพย์สินอื่นหรือเงินสดแทน ในส่วนที่คุรแม่มีสิทธิในกองมรดก เนื่องจากท่านมีอายุมากแล้วและไม่ได้ทำงานไม่สามารถบริหารหุ้นที่มีอยู่ได้จึงอยาก
ได้เป็นเงินสดไว้ใช้ยามจำเป็นมากกว่า
4.การเขียนไปในพินัยกรรมว่า “ห้ามฟ้องร้องข้อพิพาทต่างๆ ในพินัยกรรมนี้ต่อศาล” มีผลหรือไม่
ข้อเท็จจริง
ทางพี่ชายได้ไปทำการเช่าพื้นที่ในตลาดและดำเนินการก่อสร้างร้านค้าเพื่อขายของเล็ดเตล็ด โดยได้มีการทำสัญญาเช่าขึ้นกับผู้จัดการตลาดในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้บริหารตลาดอีกที
สำหรับรายละเอียดในสัญญามีดังนี้
1.ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่า เช่าพื้นที่ (......) พลาซ่า ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ (.......) ถนนเทพกุญชร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ห้องหมายเลข 101-104 จำนวน 4 ห้อง ขนานพื้นกว้าง 3.5เมตรยาว 6 เมตร รวมพื้นทั้งหมด 84 ตารางเมตร
ทั้งนี้ผู้เช่ารับที่จะจำหน่ายสินค้า และบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีคุณภาพมาตรฐาน ถูกหลักอนามัย และมีปริมาณที่เหมาะสม
2. ผู้เช่าจะต้องชำระเงินค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า 20,000 บาทต่อเดือน (สองหมื่นบาทถ้วน)โดยมีระยะเวลาการเช่า 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยทางผู้ให้เช่ามีข้อตกลงพิเศษกับผู้เช่าที่จะปรับค่าเช่าเป็น 18,000 บาทต่อเดือน (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) เป็นระยะเวลา 12 เดือน ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558
3. ผู้เช่าให้สัญญาว่า หากผู้ให้เช่าอนุญาตให้ผู้เช่า ได้เช่าพื้นที่ตามสัญญานี้ ผู้เช่ายินดีที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบของผู้ให้เช่าในเรื่อง การบริหารจัดการในด้านต่างๆ เพื่อโอกาสในการค้า และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ฯลฯ ตามที่ผู้ให้เช่าจะได้แจ้งให้ทราบ
4. ผู้เช่าจะต้องชำระค่าบำรุงดังนี้ให้กับผู้ให้เช่า ค่าน้ำประปาหน่วยละ19.00 บาท ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5.50 บาท (อัตตาราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งทางผู้ให้เช่าจะจัดใบแจ้งหนี้อันประกอบไปด้วย ค่าเช่า/ค่าน้ำประปา/ค่าไฟฟ้า ให้ทางผู้เช่าได้รับทราบในวันที่30ของเดือนและผู้เช่าต้องชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ที่ได้รับภายในวันที่1-5ของเดือน
5. ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยของผู้ให้เช่าอย่างเคร่งครัด ดูแลรักษาวัสดุ/อุปกรณ์รักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่พื้นที่เช่า ให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนดูแลรับผิดชอบในเรื่องถังใส่เศษขยะของร้านค้าให้อยู่ในสภาพพร้อม และเหมาะสมกับการใช้งาน
6. เพื่อความเป็นระเบียบ เรียบร้อยผู้ให้เช่ามีสิทธิ์เข้าตรวจสอบ ดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่เช่าได้ตลอดเวลา โดยต้องกระทบกับการค้าของผู้เช่าให้น้อยที่สุด หากผู้ให้เช่าเห็นว่าผู้เช่าได้กระทำผิดเงื่อนไขการเช่า
7. กรณีที่ผู้เช่าจำเป็นจะต้องนำบุคคลอื่นมาช่วยงานในพื้นที่เช่า ผู้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบและเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า จึงจะสามารถให้บุคคลนั้นๆ เข้ามาในบริเวณพื้นที่ของผู้ให้เช่าได้ บุคคลที่ผู้เช่านำเข้ามานั้น ให้อยู่ในความดูแลและความรับผิดชอบของผู้เช่าในทุกๆ กรณี
8. ผู้เช่าจะต้องไม่นำสัญญาเช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อ หรือโอนสัญญาเช่านี้ไปให้บุคคลอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าโดยเด็ดขาด
9. ผู้เช่าจะต้องไม่แพร่งพรายสถานภาพ การดำเนินการ หรือความลับของผู้ให้เช่าแก่บุคคลภายนอกโดยเด็ดขาด
10. ตามสัญญานี้ ผู้เช่ายินดีวางเงินเพื่อประกันความเสียหาย ต่อผู้ให้เช่า เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) และค่าเช่าพื้นที่ล่วงหน้า 2 เดือน เป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) และยินยอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันดังกล่าวได้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ หากผู้เช่ากระทำต่อไปนี้
10.1 ผู้เช่าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาเช่าได้ ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ขอสัญญาเช่านี้
10.2 ผู้เช่า ตลอดจนบุคคลในความดูแลของผู้เช่า ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ทำลายหรือทำทรัพย์สิน ของผู้ให้เช่าเสียหาย และผู้ให้เช่าสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายอีกสถานด้วย
ทั้งนี้เงินค้ำประกันความเสียหายนี้ ผู้ให้เช่าคืนให้ ต่อเมื่อผู้เช่าได้แจ้งบอกเลิกสัญญา โดยถูกต้องตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญานี้หรือเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดย ผู้เช่ามิได้กระทำผิดสัญญาและมิได้ค้างชำระเงินค่าต่างๆตามสัญญา ผู้ให้เช่าจะคืนเงินจำนวนนี้คืนให้ทางผู้เช่า
11. ในกรณีที่ผู้เช่าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะตักเตือนและบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือบอกเลิกสัญญานี้ได้
12. ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาตามสัญญานี้แล้ว หากผู้เช่าประสงค์จะขอต่อสัญญาเช่านี้ต่อไปได้อีกผู้ให้เช่ายินดีที่จะต่อสัญญาให้ โดยผู้เช่าจะต้องแจ้งความจำนงยืนยันขอต่อสัญญาเช่านี้ไปยังผู้ให้เช่า ทั้งนี้หากพื้นที่เช่าดังกล่าวยังคงดำเนินธุรกิจให้เช่าพื้นที่ดังเดิม ผู้ให้เช่าต้องให้สิทธ์ผู้เช่าในการต่อสัญญาได้คราวละไม่น้อยกว่า 3 ปี
13. สัญญาฉบับนี้จะสิ้นสุดลงต่อเมื่อ
13.1 ครบระยะเวลาตามสัญญา แล้วทางผู้เช่ามิได้แสดงความประสงค์ต่อผู้ให้เช่าเกี่ยวกับการต่อสัญญาเพิ่ม
13.2 หากผู้เช่าเป็นคนบอกเลิกสัญญา ซึ่งทางผู้เช่าต้องแจ้งต่อผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าก่อน 60 วันหากทางผู้เช่ามิได้แจ้งต่อผู้เช่าให้ทราบล่วงหน้า ผู้ให้เช่ามีสิทธ์เรียกร้องค่าเช่าพื้นได้ตามอายุสัญญาได้
13.3 หากผู้ให้เช่ามีความจำเป็นที่ต้องขอคืนพื้นที่สถานที่เช่า ก่อนสัญญาจะสิ้นสุดลง ทางผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า 60 วัน และผู้ให้เช่าจะจ่ายค่าชดเชยตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับการตกลงและการยินยอมโดยลงเป็นลายลักษ์อักษรร่วมกันระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า
13.4 หากผู้เช่าได้ทำผิดสัญญา ข้อได้ข้อหนึ่งในสัญญานี้แล้ว โดยทางผู้ให้เช่าได้แจ้งเตือนทางผู้เช่าไปแล้วแต่ทางผู้เช่ายังทำผิดสัญญาอยู่ ทางผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าฉบับนี้ได้ โดยทางผู้ให้เช่าสามารถยึดเงินตามจำนวนที่ทางผู้เช่าได้วางไว้เป็นหลักประกันตามข้อ10ได้ และค่าชดเชยความเสียหายตามความเหมาะสม
ขึ้นอยู่กับการตกลงและการยินยอมโดยลงเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า
14. จากข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้ ให้ถือว่าคู่มือร้านค้า ว่าด้วยกฎระเบียนร้านค้าให้ถือเป็นข้อบังคับในสัญญาฉบับนี้ด้วย
15. ในวันทำสัญญานี้ผู้ให้เช่าได้ส่งมอบพื้นที่เช่าให้กับผู้เช่าแล้ว และผู้เช่าได้ตรวจดูแล้ว เห็นว่าพื้นที่เช่าอยู่ในสภาพดีและเป็นปกติที่ผู้เช่าจะได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แห่งการเช่านี้ทุกประการแล้ว
สัญญานี้ได้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน และถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ โดยทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่าต่างได้อ่าน และเข้าใจในข้อความของสัญญานี้โดยตลอดแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานข้างท้ายนี้
ประเด็นคำถาม
เนื่องจากเจ้าของที่ดินซึ่งได้ทำสัญญาให้เช่าพื้นที่กับผู้บริหารตลาดจะบอกเลิกสัญญาในวันที่ 10 ตุลาคมนี้ เนื่องจากผู้บริหารตลาดทำผิดสัญญาไม่จ่ายค่าเช่า
1. ในกรณีนี้สัญญาที่ทางผู้จัดการตลาดทำไว้กับพี่ชายผมจะต้องถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติหรือไม่ กรณีถ้ายังไม่ถูกยกเลิกทางพี่ชายผมต้องดำเนินการอย่างไรต่อ
2. ทางเจ้าของที่ดินได้มาแจ้งกับทางผมล่วงหน้าว่าเขาจะยกเลิกสัญญาจึงให้ทางพี่ชายผมชะลอการจ่ายเงินค่าเช่าของเดือนที่แล้วกันยายน และเดือนนี้ตุลาคมไว้ก่อน(ครบกำหนดวันที่ 5 ตุลาคม) ซึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้วทางผู้จัดการตลาดได้ออกหนังสือแจ้งเตือนการชำระเงินของเดือนกันยายนมาให้ สำหรับกรณีนี้ทางผมจะออกหนังสือแจ้งให้ทางตลาดหักเงินค่าเช่าที่ค้างอยู่จากเงินที่พี่ชายผมได้ชำระไว้เป็นเงินค่าเช่าล่วงหน้าตามสัญญาได้ไหมครับ เพราะเท่าที่ได้คุยกับทางตลาดมามีแนวโน้มที่จะไม่คืนเงินประกัน และเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่ได้จ่ายไว้
3. สำหรับเงินประกันจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อจะขอคืน
4. หลังจากผู้บริหารตลาดได้ถูกยกเลิกสัญญาแล้ว ทางเจ้าของที่ดินแจ้งมาว่าเขาจะมาดำเนินกิจการเอง ซึ่งทางผมก็จะต้องทำสัญญากับเขาใหม่ กรณีนี้ทางผมจะต้องแจ้งบอกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับผู้บริหารตลาดคนเก่าก่อนไหมครับ
ข้อเท็จจริง
หมู่บ้านผู้ร้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อออมเงินและนำเงินออมมาปล่อยกู้เพื่อเก็บดอกเบี้ย โดยตั้งกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเข้าเป็นกรรมการเพื่อบริหารการจัดการ สิ้นปีจะมีหนังสือแจ้งว่ามีเงินออมและปล่อยกู้ไปเท่าไหร่ ทางคณะกรรมการก็จะคิดดอกเบี้ยมาให้เสร็จ แต่มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งทักท้วงว่ากรรมการคิดดอกเบี้ยผิด และให้ชี้แจงทางกรรมการไม่ได้ให้คำตอบในวิธีคิดดอกเบี้ย ดังนั้น ชาวบ้านจึงแจ้งกลับไปว่า หากไม่แจ้งวิธีคิดดอกเบี้ยให้ทราบก็จะไม่คืนเงินที่กู้ยืมไป คณะกรรมการแจ้งกลับมาว่า หากไม่ยอมคืนเงินก็จะฟ้องร้องทางแพ่ง แต่ชาวบ้านแจ้งกลับไปว่า ยอมให้ฟ้องเพราะเตรียมเงินที่จะจ่ายไว้แล้ว แค่อยากรู้ถึงการบริหารงานงานว่าโปรงใสเท่านั้น
ประเด็นคำถาม
1. ชาวบ้านสามารถนำบุคคลภายนอกมาตรวจสอบได้หรือไม่
2.หากมีการฟ้องร้องกันจะทำได้หรือไม่ และจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา และยอมความได้หรือไม่
3.หากกรรมการทุจริตจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร
4.การที่ชาวบ้านแจ้งให้กรรมการชี้แจงถึงการคิดดอกเบี้ย แต่กรรมการไม่ยอมชี้แจงชาวบ้านไม่จ่ายเงินคืนจนกว่าจะชี้แจงรายละเอียดสามารถทำได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
บุคคลที่อาศัยบริเวณข้างบ้านของผู้ร้องได้รวมกลุ่มกันดื่มสุราและร้องเพลงเสียงดังมาก ผู้ร้องเคยบอกกลุ่มคนดังกล่าวแล้ว แต่เขาก็ไม่สนใจ เขาบอกว่าหากเรารำคาญก็ให้เราย้ายออกไป และเขายังบอกอีกว่าบ้านของเขาเขาจะทำอะไรก็ได้เป็นสิทธิของเขา พวกเขาดื่มสุราตอนเย็นจนถึงเวลาดึก บ้านข้างๆ ก็เกิดความรำคาญแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะกลัวจะมีปัญหา ผู้ร้องอยากทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรกับกลุ่มบุคคลดังกล่าว จะดำเนินคดีในข้อหาใดได้บ้าง
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องอยากทราบว่าจะดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวในข้อหาใดได้บ้าง
ข้อเท็จจริง
ในเรื่องการละเมิดนั้น กฎหมายได้วางหลักการไว้กว้างๆ ว่าให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิม คือให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่ายค่าเสียหายให้ผู้เสียหายเท่ากับที่เสียหายจริง แต่ในทางปฏิบัติการกำหนดค่าเสียหายภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยอาจสามารถทำให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเสมือนว่าไม่มีการทำละเมิดเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการเรียกค่าเสียหายไม่ได้ครอบคลุมทุกกรณี
ประเด็นคำถาม
ในกรณีที่เสียหายแก่ชีวิต เหตุใดจึงไม่อาจเรียกค่าขาดรายได้ของผู้ตายในขณะที่ยังไม่ถึงแก่ความตาย และค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่น ค่าทุกข์ทรมาน ค่าความเศร้าของทายาท ถือได้หรือไม่ว่าศาลให้ค่าเสียหายน้อยกว่าความเป็นจริง ผู้เสียหายก็ไม่ได้กลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนไม่ได้เกิดละเมิดขึ้น
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องอยู่กินกับสามีโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่บ้านของสามี มีบุตรด้วยกันจำนวน 1 คน ปัจจุบันอายุ 1 ปี 8 เดือน ผู้ร้องได้พาบุตรมาอาศัยอยู่ที่บ้านยายของผู้ร้อง ต่อมาพอจะถึงวันครบรอบวันเกิดของบุตร สามีและมารดาของสามีได้มารับเด็กโดยบอกกับยายของผู้ร้องว่าจะเอาเด็กไปเลี้ยงวันเกิด และไม่พาเด็กมาส่งที่บ้านยายอีกเลย ผู้ร้องทราบเรื่องและโทรศัพท์ไปหาสามี ตอนแรกสามีของผู้ร้องไม่ยินยอมให้ผู้ร้องพบกับบุตรของผู้ร้อง แต่ต่อมาก็อนุญาตให้ผู้ร้องพบกับบุตรได้ โดยมีข้อตกลงว่าหากจะพาเด็กไปเที่ยวต้องให้อาของเด็กไปด้วยทุกครั้ง ต่อมาผู้ร้องทนไม่ไหวจึงไปรับบุตรของผู้ร้องมาจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2557 สามีของผู้ร้องกับมารดาของสามีมารับบุตรของผู้ร้องที่โรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง และไม่พาเด็กมาส่งผู้ร้องอีกเลย ผู้ร้องและสามีต่างคนก็มีคู่ครองคนใหม่แล้ว
ประเด็นคำถาม
1. ผู้มาทำงานที่กรุงเทพมหานคร แล้วผู้ร้องฝากบุตรให้มารดาของผู้ร้องเลี้ยงดู อดีตสามีของผู้ร้องจะฟ้องศาลเพื่อขอนำบุตรไปเลี้ยงเองได้หรือไม่
2. หากผู้ร้องไม่ต้องการให้อดีตสามีของผู้ร้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับผู้ร้องและครอบครัวใหม่และบุตรของผู้ร้อง จะต้องทำอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร
3. หากอดีตสามีของผู้ร้องเอาบุตรไปเลี้ยงโดยไม่มีเวลาที่จะดูแลเพราะอดีตสามีและย่าของเด็กต่างก็ทำงาน เราจะนำประเด็นนี้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลได้หรือไม่
4. ขณะที่บุตรอยู่กับอดีตสามี บุตรของผู้ร้องก็ไม่มีพัฒนาการ หรืออ้วนขึ้นเลย และบุตรยังมีพฤติกรรมมักจะใช้มือตบศีรษะตนเอง แต่พอบุตรมาอยู่กับผู้ร้องบุตรก็อ้วนขึ้น ไม่ก้าวร้าว และเลิกตบศีรษะตนเอง
5. ถ้าผู้ร้องจะฟ้องศาลให้ชนะคดีโดยไม่ให้อดีตสามีมายุ่งเกี่ยวอีกควรทำอย่างไร
6. อดีตสามีพาเด็กไปโดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง ผู้ร้องจะแจ้งความดำเนินคดีกับอดีตสามีได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน จำนวน 4 คน โดยน้องคนที่ 3 และคนที่ 4 เป็นน้องต่างบิดากับผู้ร้องและน้องคนที่ 2 บิดาคนปัจจุบันเป็นบิดาของน้องคนที่ 3 กับคนที่ 4 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา มารดาได้รับมรดกเป็นที่ดินจากตากับยาย มรดกดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ตามจำนวนทายาทซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับมารดาของผู้ร้อง มรดกดังกล่าวได้แบ่งแยกโฉนดออกไปแล้วจำนวน 3 ส่วน ที่เหลือ อีก 2 ส่วน ซึ่งเป็นส่วนของมารดาและป้ายังไม่ได้แบ่งแยก โฉนดที่ยังไม่ได้แบ่ง มีชื่อมารดาของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาน้องคนที่ 3 ได้ นำที่ดินส่วนของมารดากับป้าไปจำนองไว้กับสหกรณ์ โดยผู้ร้องกับน้องคนที่ 2 ไม่รู้เรื่อง เพิ่งทราบเรื่องดังกล่าวตอนที่มารดาป่วย ปัจจุบันที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงติดจำนองอยู่ ต่อมาหลังจากมารดาเสียชีวิตแล้วน้องต่างบิดาทั้งสองคน และบิดาของเขาก็บอกกับผู้ร้องกับน้องชายคนที่ 2 ว่า ผู้ร้องกับน้องชายคนที่ 2 และป้าของผู้ร้องไม่มีสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกต่อศาล และศาลได้มีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
ประเด็นคำถาม
1. หลังจากที่มารดาของผู้ร้องเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 1 ปี เศษ ผู้ร้องได้ขอดูยอดเงินที่น้องคนที่ 3 ผ่อนชำระคืนแก่สหกรณ์ ยังผ่อนคืนไม่ครบ ถามว่าผู้ร้องจะใช้เงินของผู้ร้อง และในฐานะผู้จัดการมรดกยื่นขอปลดจำนองได้หรือไม่
2. ถ้าปลดจำนองได้ผู้ร้องสามารถขายที่ดินดังกล่าวบางส่วนเพื่อหักค่าใช้จ่ายในการปลดจำนองได้หรือไม่
3. เมื่อปลดจำนองแล้วโฉนดจะจัดการโอนอย่างไร ต้องโอนจากชื่อผู้ตายมาเป็นผู้จัดการมรดกก่อนแล้วจึงจัดการแบ่งให้น้องหรือไม่ หรือสามารถจะโอนแบ่งให้แก่ทายาทได้เลย
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องได้ตกลงขายมอเตอร์ไซค์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยระบุว่าเป็นรถรุ่นปี2010 แต่จดทะเบียนปลายปี2009 ภายหลังผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายกันเรียบร้อย ลงลายมือชื่อในสัญญา เอกสารสัญญาก็ระบุปีรถเป็น 2009 จบเรียบร้อยในสัญญาระบุชัดเจนแต่เขาบอกว่าผู้ร้องโกงเขา โกงปีรถ แต่ในสัญญาพ่อเขาเขียนเองว่ารถปี 2009 ซึ่งตกลงกันเรียบร้อยแล้ว
ประเด็นคำถาม
1.ผู้ซื้อจะเอาผิดผู้ร้องได้หรือไม่ เพราะผู้ซื้อลงลายมือชื่อในเอกสารด้วยตนเองและจบไปแล้ว
2.ผู้ร้องมีข้อต่อสู้ในทางกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องได้แจ้งย้ายออกจากหอในวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 เจ้าของหอพักยังไม่ได้คืนเงินประกัน บอกเพียงว่าตอนเย็นจะโทรไปหา แต่กลับไม่โทรมาสอบถามเลขบัญชีแต่อย่างใดจนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ผู้ร้องได้กลับไปติดต่อสอบถาม และเจ้าของหอพักบอกผู้ร้องว่า จะโอนให้ภายในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2557 จนบัดนี้ยังไม่ได้มีการโอนใดๆทั้งสิ้น ผู้ร้องได้ปฏิบัติตามสัญญาทุกๆข้อ รวมทั้งได้แจ้งล่วงหน้าก่อนหนึ่งเดือนที่จะย้ายออกตามหนังสือสัญญาระบุ
ประเด็นคำถาม
1.ผู้ร้องสามารถเอาเงินมัดจำคืนได้หรือไม่
2.ผู้ร้องสามารถเอาผิดกับเจ้าของหอพักได้หรือไม่ หรือสามารถเอาผิดทางใดได้บ้าง
ข้อเท็จจริง
มารดาผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินให้ผู้ร้องมากว่า 10 ปีแล้ว ในภายหลังมารดาเป็นหนี้บัตรเครดิตและถูกฟ้องให้ชดใช้เงินจำนวนสามแสนบาท ปัจจุบันมารดาไม่มีอาชีพและทรัพย์สินแล้ว แต่มีชื่อมารดาเป็นเจ้าบ้านหลังดังกล่าว
ประเด็นคำถาม
โจทก์จะสามารถฟ้องเอาทรัพย์สินในส่วนของบุตรได้หรือไม่