หมวดหมู่ - แพ่ง
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องซื้อที่ดินต่อจากเจ้าของเดิม ที่ดินดังกล่าวติดกับที่ดินของการเคหะแห่งชาติ เจ้าของเดิมได้ทำสัญญาไว้กับการเคหะฯว่า การเคหะจะเปิดทางเข้าออกไว้ให้แต่ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อมาการเคหะโอนที่ดินให้นิติบุคคลอาคารชุด ผู้ร้องก็ยังคงใช้ที่ดินเข้าออกเป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันนิติบุคคลจะทำการจดทะเบียนเข้าออกและปิดมิให้ผู้ร้องนำรถเข้าซึ่งที่ดินของผู้ร้องมีทางออกทางอื่นได้
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถฟ้องให้เปิดทางได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นข้าราชการทหารเรือ เมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมาได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ที่ธนาคารออมสิน ต่อมาเมื่อต้นปี 2557 ผู้กู้ได้หนีราชการไปทำให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้แทนโดยวิธีการหักเงินเดือนของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่สามารถติดต่อตัวผู้กู้ได้ทุกช่องทาง โดยผู้กู้มีเจตนาจะหนีหนี้อย่างชัดเจน
ประเด็นคำถาม
1.ผู้ร้องสามารถดำเนินการอย่างไรทางกฎหมายกับผู้กู้ได้บ้าง มีอำนาจฟ้องคดีได้หรือไม่
2. สามารถควบคุมตัวเพื่อให้ไปทำสัญญาใหม่กับทางธนาคารได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องได้ทำสัญญาวางมัดจำเพื่อซื้อบ้านของเพื่อนบ้าน ต่อมาผู้ร้องมีปัญหาทางการเงินจึงต้องการหาเพื่อนมาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแทน โดยทำสัญญาขายสิทธิเงินมัดจำดังกล่าว เนื่องจากเจ้าของที่ไม่คืนเงินมัดจำ
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถทำสัญญาขายสิทธิเงินมัดจำได้หรือไม่ และจะมีผลบังคับทางกฎหมายอย่างไร
ข้อเท็จจริง
ยายผู้ร้องได้ป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองแตกนอนไม่รู้สึกตัวมาประมาณ 3 ปีแล้ว ยายมีลูกทั้งหมด 3 คน คือแม่ผู้ร้อง น้าและป้า ซึ่งแม่กับป้าจะอยู่ที่ กรุงเทพฯ ส่วนยายจะอยู่กับน้าที่ต่างจังหวัดซึ่งน้าจะเป็นตัวหลักที่ดูแลยายมาตลอดระยะเวลา 3 ปี ยายผู้ร้องมีที่ดินอยู่ 1 แปลงซึ่งยังไม่ได้ยกให้ใครแล้วลูกๆทั้งสามตกลงกันว่าจะขาย (มีคนมาขอซื้อจึงคิดจะขาย) เพราะด้วยที่แปลงนี้ก็อยู่อีกจังหวัด ไม่มีใครจะไปใช้ประโยชน์ใดๆ และจากที่ปรึกษาญาติๆที่ทำงานอยู่ที่ที่ดินเขาแนะนำว่าให้ไปแจ้งศาลเพื่อขอเป็นผู้พิทักษ์เพื่อขายที่ดินแปลงนี้โดยเฉพาะซึ่งลูกๆทุกคนก็ยินยอมและได้ให้หมอที่เป็นเจ้าของไข้ที่ดูแลยายอยู่ออกใบรับรองให้ว่ายายอยู่ในสภาพนอนไม่รู้สึกตัวจริงๆ (หมอเจ้าของไข้ก็ยินดีหากต้องไปให้ปากคำที่ศาล) ก็ดำเนินเรื่องไปจนกระทั้งศาลนัดลูกๆทั้งหมดเพื่อมาให้ปากคำที่ศาล (ตามปกติที่ทราบๆมาคือจะรอ 45 วันแล้วหลังจากนั้นจะต้องลงประกาศ นสพ. อีก 7 วันหากไม่มีคนขัดค้านก็จะประกาศเป็นผู้พิทักษ์) ในระหว่างนี้ทั้งแม่ ป้าและน้าก็ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับคนที่จะซื้อที่ดินโดยได้เงินจองมาจำนวนหนึ่ง ทีนี้เรื่องมันมามีปัญหาว่าศาลได้แจ้งว่าตามระเบียบใหม่จะต้องไปติดต่อที่สถานพินิจด้วย ซึ่งพอไปติดต่อยังสถานพินิจกลับกลายเป็นว่าเงินที่จะขายที่นั้นได้ทั้งหมดเท่าไหร่จะต้องเก็บไว้ยังบัญชีของสถานพินิจแล้วเขาจะจ่ายเป็นเดือนๆสำหรับค่าใช้จ่ายที่ดูแลยาย (ก่อนหน้านี้เขามีถามว่าค่าใช้จ่ายของยายต่อเดือนเท่าไหร่)
ประเด็นคำถาม
อยากทราบว่าจริงๆแล้วการขายที่ดินในลักษณะนี้ทำได้หรือไม่ครับ (เงินจากการขายนำมาแบ่งกัน) แล้วสถานพินิจต้องมีบทบาทตามที่ว่าไว้จริงหรือไม่
ข้อเท็จจริง
ที่ดินป้าของผู้ร้อง มีจำนวนประมาณ 4 งาน ป้าสัญญาว่าจะจดทะเบียนโอนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องครึ่งหนึ่งต่อเมื่อผู้ร้องบรรลุนิติภาวะแล้ว ต่อมาหลังจากผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกนำไปจำนองธนาคาร เพื่อประกันหนี้กู้ยืมเงินของบุตรสาวของป้า โดยมีกำหนดเวลาชำระหนี้คืนภายใน 15 ปี ตอนนี้ผ่านมาประมาณ 10 ปีแล้ว ป้าก็ยังยืนยันจะแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องครึ่งหนึ่งตามสัญญา
ประเด็นคำถาม
1. ผู้ร้องสามารถแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งออกมาจากธนาคารได้หรือไม่
2. ถ้าไม่ได้เพราะอะไร
3. กรณีแบบนี้ผู้ร้องควรทำอย่างไร
ข้อเท็จจริง
ผู้สอบถามนำที่ดินไปขายฝากไว้กับผู้ให้กู้เงิน โดยทำสัญญาขายฝากแบบปีต่อปี
ประเด็นคำถาม
ผู้สอบถามจะนำที่ดินที่ได้ขายฝากไว้กับผู้ให้กู้เงินไปจำนองเพื่อนำเงินไปใช้หนี้นายทุน โดยให้ระยะเวลาการผ่อนยาวขึ้นได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ห้องน้ำเพื่อนบ้านพื้นรั่ว ทำให้น้ำซึมกำแพงบ้านผมเป็นรอยน้ำทางยาว เคยติดต่อไปสอบถามนิติบุคคล นิติบุคคลได้เรียกวิศวะโครงการมาดูให้ครั้งหนึ่งและซ่อมไป โดยครั้งแรกเพื่อนบ้านบอกว่าไม่จ่ายค่าซ่อม เนื่องจากตัวเค้าไม่เดือดร้อน และมองว่าเป็นความผิดโครงสร้างที่สร้างมาไม่ดี วิศวะอ้างว่าจ่ายให้เอง ภายหลังน้ำซืมเข้ามาอีก ( ผมเดาว่าน่าจะเป็นเพราะไม่จ่าย ทางวิศวะจึงไม่ซ่อมให้ดี ) ผมได้แจ้งนิติบุคคลไป นิติฯดู แก้ปัญหาไม่ได้ และอ้างว่าเพื่อนบ้านไม่จ่ายก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน
ประเด็นคำถาม
1.ผมควรดำเนินการอย่างไร หากเจรจาแล้วไม่เป็นผล ไปแจ้งความตำรวจจะช่วยอะไรได้บ้าง
2.การร้องเขตในกรณีนี้ ช่วยได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคาร โดยมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายทั้งหมด 2ครั้ง เนื่องจากมีที่ดิน 2 แปลง
โดยครั้งแรก ทำสัญญาจะซื้อขาย ลงวันที่ 17 ก.พ. 2555 แต่ต่อมาได้มีการยกเลิกสัญญาครั้งแรกนี้ไป
และทำสัญญาจะซื้อจะขายครั้งที่2 อีกครั้งในวันที่ 27 พ.ค. 2555โดยมีรายละเอียดในสัญญาดังนี้ (ตามคำกล่าวอ้างของผู้ร้อง )
-ผู้จะขายจะต้องมอบแบบแปลนก่อสร้าง พร้อมแบบแปลนที่แก้ไขแล้ว ให้แก่ ผู้ร้องภายใน 10 วัน หลังทำสัญญา
-ตกลงจะซื้อจะขาย บ้านพร้อมที่ดินแปลงที่ 1 ราคา 3,800,000 บาท บวกเพิ่ม 50,000 บาท เป็นค่าแก้ไข
-ตกลงจะซื้อจะขาย บ้านพร้อมที่ดินแปลงที่ 2 ราคา 3,550,000 บาท รวมราคาค่าแก้ไขแล้วบ้านจะเสร็จในวันที่ 12 ก.พ. 2556 เมื่อผู้ร้องได้ทำสัญญาเสร็จแล้ว ผู้จะขายผิดสัญญาหลายข้อดังนี้
-ไม่ส่งมอบแบบแปลนก่อสร้าง พร้อมแบบแปลนที่แก้ไขตามเวลาที่กำหนด
-ส่งมอบบ้านไม่ทัน กำหนดเสร็จตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยผู้ร้องได้ติดตามให้ผู้จะขายส่ง
มอบบ้านหลายครั้งแล้ว
-ผู้จะขายสร้างบ้านไม่ตรงตามแบบบ้านที่กำหนดในสัญญา
ผู้ร้องได้จ่ายเงินค่ามัดจำและค่างวดไปบางส่วนแล้ว (จ่ายทั้งสองโฉนดที่ดิน) และผู้ร้องได้มีการติดต่อให้ทนาย ยื่นจดหมายเตือนผู้จะขายและบันทึกการผิดนัดของผู้ร้องโดยโอนเงินเป็นค่าใช้จ่ายให้ 10,000 บาท แต่ทนายผู้นั้นไม่ได้ทำอะไรเลย (ผู้ร้องอยู่ที่ต่างประเทศ)
ผู้ร้องต้องการที่จะโอนบ้านมาเป็นของตนเนื่องจากได้ แลกเงิน ปอนด์ มาเป็นเงิน บาทเพื่อเตรียมจ่ายค่าบ้านแล้ว ซึ่งในช่วงนั้นค่าเงินบาทแข็งตัวมาก แต่ในตอนนี้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนตัว ซึ่งถ้าผู้ร้องจะแลกเงิน บาทกลับมาเป็นเงินปอนด์ อีกจะขาดทุนอย่างมาก
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1 ถ้าผู้ร้องไปรับโอนบ้านมาก่อน แล้วให้ผู้จะขายเซ็นต์สัญญาตกลงว่าจะแก้ไขบ้านให้ตรงตามสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เมื่อครบสัญญาหากเจ้าของไม่ทำตามสัญญา หรือทำคุณภาพต่ำ ผู้ร้องจะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่อย่างไร
ข้อ 2 ผู้ร้องสามารถฟ้องที่ศาลใดได้
ข้อเท็จจริง
1.เจ้าของเป็ดชำระค่าเสียหาย 1,000 บาทให้กับเจ้าของนาข้าว ตามที่เจ้าของนาข้าวอ้างว่านาข้าวที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเสียหายจากการที่เป็ดเข้าไป ทั้งที่ไม่มีหลักฐานความเสียหายชัดเจน และเมื่อเจ้าของนาข้าวได้ชำระค่าเสียหายแล้ว ยังเรียกร้องกับคุณตาของเจ้าของเป็ดอีก
2.เจ้าของเป็ดอ้างว่า เจ้าของนาข้าวได้กล่าวหาคนเฝ้าเป็ดกับคุณตา ว่าเป็น “พม่าที่ไหน ท่าทางเหมือนเมายา นั่งเบลอ” ซึ่งคนเฝ้าเป็ดคือสามีของเจ้าของเป็ด
ประเด็นคำถาม
1.เจ้าของเป็ดชำระค่าเสียหาย 1,000 บาทให้กับเจ้าของนาข้าวไปแล้ว ทั้งที่ไม่มีหลักฐานความเสียหายชัดเจนจะเรียกเงินคืนได้หรือไม่
2.เจ้าของเป็ดจะฟ้องเจ้าของนาข้าวข้อหาหมิ่นประมาท จากคำพูดของเจ้าของนาข้าว ที่ว่าสามีของเจ้าของเป็ดซึ่งเป็นคนเฝ้าเป็ด กับคุณตาได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นหนี้จากการลงทุนธุรกิจ ต่อมาประสบปัญหาเศรษฐกิจ และน้ำท่วม ช่วงนี้ไม่สามรถชำระหนี้ได้
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องทำงานในตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย ( ของรัฐ ) สายวิชาการ เจ้าหนี้จะสามารถฟ้องอายัดเงินเดือนได้หรือไม่