หมวดหมู่ - แพ่ง
ข้อเท็จจริง บ้านผู้ร้องถูกประกาศขายทอดตลาดที่สำนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีได้เลื่อนการขายทอดตลาดเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกเดือน โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ร้องต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยให้หมดภายในระยะเวลา 1 ปี ตอนนี้ผู้ร้องยังหาเงินมาชำระดอกเบี้ยไม่ได้ ผู้ร้องอยากทราบว่า ธนาคารพอจะผัดผ่อนยื่นเวลาชำระดอกเบี้ยให้อีกได้หรือไม่
ประเด็นคำถาม
อยากทราบว่าภายใน 1 ปี หากผู้ร้องหาดอกเบี้ยไม่ได้จะมีทางไหนผัดผ่อนได้บ้าง
ข้อเท็จจริง
บิดากับมารดาของผู้ร้องหย่ากัน ขณะที่ผู้ร้องอายุได้ประมาณ 1 เดือน และมารดาของผู้ร้องฝากผู้ร้อง ไว้กับยาย ต่อมามารดาของผู้ร้องไปทำงานที่อื่น โดยมารดาส่งเสียผู้ร้อง ส่วนบิดานั้นเปิดร้านขายของชำที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ผู้ร้องอาศัยอยู่กับยาย ส่วนบิดาของผู้ร้องก็ติดต่อกับผู้ร้องบ้าง ต่อมาบิดาของผู้ร้องได้เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตก อันเนื่องมาจากความดันสูงขณะที่ผู้ร้องเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 บิดาของผู้ร้องได้เลี้ยงดูย่ามานานแล้ว ย่าของผู้ร้องเป็นโรคอัลไซเมอร์ เมื่อเสร็จพิธีศพของบิดาของผู้ร้อง ผู้ร้องมีฐานะเป็นทายาทของบิดา มีสิทธิรับมรดก แต่เนื่องจากที่ดินมี 2 แปลง แปลงหนึ่งเป็นที่ดินซึ่งบิดาของผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว ถูกแบ่งสันปันส่วนระหว่างพี่น้องของบิดาผู้ร้องนานมาแล้ว แต่ที่ดินอีกแปลงหนึ่งติดกันเป็นที่ดินที่หากบิดาเลี้ยงดูย่าจนกว่าย่าจะเสียชีวิต แล้วบิดาจึงจะได้ไป โดยที่ดินทั้งสองแปลงมีบ้านหนึ่งหลังตั้งอยู่ระหว่างที่ดินทั้งสองแปลง ญาติทุกคนของบิดาของผู้ร้องได้ตกลงกันว่าจะยกที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง โดยให้อาของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และดูแลย่าต่อจากบิดาของผู้ร้อง ต่อมาอาของผู้ร้องย้ายเข้ามาอยู่บ้านพ่อของผู้ร้อง ต่อมาที่ดินดังกล่าวก็กลับกลายมาเป็นของอาของผู้ร้องโดยอ้างว่าเป็นส่วนของคนที่เลี้ยงย่าจะได้ หลังจากที่อาเลี้ยงดูย่าได้ประมาณ 1 ปี ย่าก็เสียชีวิต ญาติทุกคนต่างคนต่างดำเนินชีวิต โดยช่วงที่เลี้ยงดูย่า อาก็ลาออกจากงานมาอยู่ที่บ้านเฉยๆ อากับอาสะใภ้มีรายได้จากการให้เช่าห้อง 2-3 ห้อง ขณะที่ผู้ร้องอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 อายุประมาณ 18 ปี อาก็บอกว่าอยากจะให้ที่ดินทั้งสองแปลงจะได้เป็นผืนใหญ่ โฉนดก็เป็นชื่อทั้งสองคน แต่พอผู้ร้องเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ผู้ร้องประสงค์จะไปอาศัยที่บ้านของบิดาของผู้ร้อง อาก็บ่ายเบี่ยง ไม่อยากให้อยู่ บอกว่าอันตราย ห้องน้ำด้านล่างไม่สะดวก ผู้ร้องก็ไม่อยู่ จนกระทั่งผู้ร้องเรียนจบแล้วได้ทำงาน และกำลังจะเรียนต่อปริญญาโท ผู้ร้องต้องการจะอยู่บ้านของบิดา ในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เพราะบ้านของผู้ร้องไกลจากที่เรียนมาก ก็ไปคุยกับอา เนื่องจากผู้ร้องหายหน้าไปนาน ทั้งทำงานทั้งเรียนตอนปริญญาตรี อาดูหมางเมินและยอมให้ผู้ร้องอยู่ แต่ให้อยู่ในห้องที่อาใช้เก็บของ แล้วเอาที่นอนตั้งขึ้นปิดหน้าต่าง คือใช้ห้องสำหรับเป็นสถานที่นอนเท่านั้น ไม่มีการเคลียร์ของ เหมือนกับไม่ใช่ห้องของผู้ร้อง อาพูดว่า “ช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ไม่ต้องล็อคห้องเผื่ออามาเอาของ เดี๋ยวช่วยทำความสะอาดด้วย” ผู้ร้องก็ไม่ได้พูดอะไร เพราะไม่อยากให้เกิดการขัดข้องหมองใจกัน ซึ่งหากมาคิดดูผู้ร้องว่าไม่ยุติธรรมเลยในเมื่อที่ดินก็เป็นของบิดาของผู้ร้อง แต่พอเราจะใช้ประโยชน์ เราจะเข้าไปอยู่กลับเข้าไปอยู่ไม่ได้ ผู้ร้องจ่ายค่าหอไปรวม 4 ปี และอีก 2 ปี ข้างหน้า ก็สามารถซื้อรถได้เป็นคันเลย ผู้ร้องไม่ต้องการจะได้ที่ทั้งหมด แค่ต้องการที่ที่เป็นส่วนของบิดาของผู้ร้องจริงๆ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยในเมือง มารดาของผู้ร้องไม่เคยยุ่งเรื่องที่ดินมรดกของบิดาของผู้ร้อง เพราะมารดาคิดว่าแม่หย่ากับมารดาแล้ว ไม่ควรยุ่งเพราะญาติของบิดาอาจไม่พอใจ ผู้ร้องเคยเห็นโฉนดเป็นชื่อดิฉันกับอา แต่ไม่มีตัวถ่ายเลย เพราะตอนนี้อาเป็นโรคอะไรก็ไม่รู้ อ่อนเพลียไม่มีแรง และดูแล้วอา และอาสะใภ้ก็ไม่มีรายได้อื่นใด นอกจากค่าเช่า 2-3 ห้อง อาไม่มีลูก ผู้ร้องไม่อยากใช้ความรุนแรง หรือทำอะไรให้บาดหมางกัน เพียงแต่ต้องการความถูกต้อง ไม่อยากให้อาเอาทุกอย่างไปเป็นของตน เพราะไม่ยุติธรรมต่อผู้ร้องกับบิดาของผู้ ร้อง
ประเด็นคำถาม
1 ผู้ร้องไม่มีโฉนดที่ดินของที่ดินแปลงดังกล่าว แต่เคยเห็นตอนที่อาเอามาให้ดูว่าเป็นชื่อผู้ร้องกับอา หากอาเป็นอะไรไปแล้วเสียชีวิตที่ดินทั้งหมดจะตกเป็นของผู้ร้อง หรือต้องแบ่งให้อาสะใภ้
2 เป็นไปได้หรือไม่ หากผู้ร้องจะขอแบ่งที่ดินเอาเฉพาะที่ที่เป็นของบิดาของผู้ร้องจริงๆ ตามโฉนดเดิมตอนที่ยังไม่ได้รวมกัน หากทำได้ผู้ร้องต้องดำเนินการอย่างไร เพราะผู้ร้องไม่มีเอกสารอะไรเลย เอกสารอยู่ที่อาทั้งหมด
3 ขณะที่อาให้ผู้ร้องเซ็นรวมที่ดินนั้น ผู้ร้องอายุ 18 ปี ถือเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะใช่หรือไม่
4 บ้านซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินทั้งสองแปลง หากแบ่งที่ดินแล้ว ผู้ร้องจะรื้อบ้านออกเพื่อสร้างบ้านของตนเองบนที่ดินแปลงของตนเอง จะมีความผิดหรือไม่ หากรื้อบ้านหลังเดิม
5 ผู้ร้องไม่ได้อยู่บ้านหลังนั้นเลย เพราะอาไม่ยินดีที่จะให้อยู่มาตั้งแต่แรก จะครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ ผู้ร้องควรทำอย่างไรเพื่อให้ได้ที่ดินของบิดากลับคืนมา
ข้อเท็จจริง
พี่ที่ทำงานขอยืมเงินผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีเงิน แต่มีทองสองสลึง พี่คนดังกล่าวจึงขอยืมทองไปจำนำได้เงินจำนวน 5,000 บาท ผู้ร้องยอมให้ไปเพราะบุคคลดังกล่าวก็เป็นญาติของผู้ร้อง เขารับเงินไปวันที่ 25 เขาบอกว่าวันที่ 30 เขาจะใช้คืนให้ ประมาณ 5 วัน ผู้ร้องจึงยอมให้ไป พอถึงวันที่ 30 ผู้ยืมบอกว่าไม่มี ให้รอเดือนหน้า แต่ผ่านมาแล้ว 6 เดือน ผู้ร้องจึงสอบถามผู้ยืม ผู้ยืมบอกว่าสร้อยของผู้ร้องหลุดจำนำไปแล้ว ผู้ร้องจึงขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ให้พูดให้ ผู้ยืมบอกว่าจะใช้คืนให้ภายในวันที่ 5 ของเดือนนี้ ผู้ร้องจึงสอบถามราคาที่ร้านทองในปัจจุบัน 2 สลึง ราคา 9,500 บาท แต่ผู้ร้องซื้อมา 11,700 บาท ผู้ร้องจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายแต่ฝ่ายเดียว เช่นนี้ผู้ร้องจะให้ผู้ยืมใช้เงินให้เท่ากับราคาทองที่ผู้ร้องซื้อมาครั้งแรกใช่หรือไม่ อีกอย่างผู้ยืมไม่เคยให้ดอกเบี้ยผู้ร้องเลย
ประเด็นคำถาม
1 ผู้ร้องจะให้ผู้ยืมใช้เงินคืนเท่ากับราคาทองที่ผู้ร้องซื้อมาครั้งแรกได้หรือไม่
2 ผู้ร้องมีสิทธิได้ดอกเบี้ยหรือไม่
ข้อเท็จจริง นำรถยนต์ไปเข้าศูนย์ซ่อมบริการเพื่อทำการซ่อมบริเวณท้ายรถถูกชน ซึ่งได้ตกลงค่าซ่อม ค่าอะไหล่ และวันรับรถ ( จองรถรอซ่อมไว้ที่ศูนย์ ) กับศูนย์ฯไว้อย่างชัดเจนในเอกสาร กล่าวคือนัดรับรถวันที่ 5/9/13 แต่ทางศูนย์ยังดำเนินการใดๆและเพิ่งแจ้งมาว่าให้มารับรถวันที่ 31/10/13
ประเด็นคำถาม การผิดนัดส่งมอบรถข้างต้น สามารถฟ้องร้องได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องได้ทำร้ายร่างกายผู้หญิงซึ่งเป็นภรรยาน้อย โดยภรรยาน้อยก็ได้ทำร้ายร่างกายผู้ร้องและภรรยาของผู้ร้องซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ด้วยในวันเกิดเหตุ ต่อมาภรรยาน้อยได้แจ้งความดำเนินคดีผู้ร้องกับภรรยาของผู้ร้องข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกาย ในชั้นศาลผู้ร้องกับภรรยาให้การรับสารภาพเพื่อให้เรื่องจบๆ ไป ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกผู้ร้องกับภรรยาคนละ 2 ปี ปรับคนละ 4,000 บาท รับสารภาพศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก คนละ 1 ปี ปรับคนละ 2,000 บาท หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ภรรยาน้อยคนดังกล่าวนี้ ยังไปฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดอีก เป็นเงินจำนวน 250,000 บาท โดยภรรยาน้อยได้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปจริงๆ เพียงแค่ 27,000 บาท เศษ ซึ่งเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
ประเด็นคำถาม
1 ผู้ร้องจะเสียค่าสินไหมทดแทนมากแค่ไหน โดยให้ศาลตัดสิน คาดว่าไกล่เกลี่ยไม่ได้
2 ผู้ร้องจะต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้างเพื่อต่อสู้คดี
ข้อเท็จจริง บ้านผู้ร้องมีอาชีพทำสวนผลไม้ ที่สวนของผู้ร้องจะมีปัญหาเรื่องน้ำโดยที่สวนจะใช้น้ำจากคลองสาธารณะมาโดยตลอดตั้งแต่รุ่นตายาย ซึ่งต้องวางท่อส่งน้ำผ่านสวนผู้อื่นที่ได้ทำมานานกว่า 20 ปีแล้ว ตอนนี้เริ่มมีปัญหา คือ เจ้าของสวนที่ครอบครัวผู้ร้องเคยวางท่อไว้และใช้น้ำจากคลองสาธารณะได้บอกว่าจะไม่ให้ครอบครัวผู้ร้องวางท่อผ่านที่ของตนแล้ว ซึ่งย่อมส่งผลต่อสวนผลไม้ของครอบครัวผู้ร้องแน่นอน เจ้าของที่นั้นบอกว่าจะคิดค่าเช่าผู้ร้องปีละ 10,000 บาท และทำสัญญา 3 ปี ทางครอบครัวของผู้ร้องคิดว่าหากหมดสัญญา 3 ปีแล้ว เจ้าของที่นั้นไม่ต่อสัญญา ครอบครัวผู้ร้องจะทำอย่างไรต่อดีและก็คิดว่าหากครอบครัวผู้ร้องจะขอใช้ชั่วลูกหลานจะเป็นไปได้ไหม
ประเด็นคำถาม
1.ผู้ร้องใช้น้ำและวางท่อส่งน้ำผ่านสวนคนอื่นมากว่า 20 ปี แล้วหากเจ้าของที่ดินนั้นจะไม่ให้ผ่านแล้วผู้ร้องจะมีทางทำอะไรได้บ้าง
2.ผู้ร้องจำเป็นที่ต้องจ่ายค่าเช่าให้หรือไม่
3.หากผู้ร้องไม่ยอม เจ้าของสวนนั้นจะฟ้องผู้ร้องได้หรือไม่
4.กรณีผู้ร้องถูกเจ้าของสวนที่ตนวางท่อผ่านฟ้องคดี ผู้ร้องจะมีทางชนะคดีหรือไม่ และผู้ร้องจะสามารถใช้ท่อส่งน้ำวางผ่านที่ดินนั้นได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง บิดาของผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้และได้เสียชีวิต โดยลูกหนี้ได้เขียนเช็คไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงินโดยไม่ได้ลงวันที่ มารดาของผู้ร้องได้พยายามติดตามทวงถามแต่ไม่มีความคืบหน้าอย่างใด พอมารดาของผู้ร้องเสียชีวิต ผู้ร้องจึงดำเนินการต่อ จนเมื่อเร็วๆนี้ ผู้ร้องทราบว่าลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายพร้อมถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องจึงได้ติดต่อกรมบังคับคดีเพื่อขอแบ่งทรัพย์สินแต่ลูกหนี้ปฏิเสธเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงส่งเอกสารให้ผู้ร้องไปแก้ต่างคำคัดค้านลูกหนี้พร้อมนำหลักฐานมาเพิ่มหรือนำพยานมาให้การ ผู้ร้องจึงขอปรึกษาว่า
1.เช็คไม่ลงวันที่จะมีอายุจนกว่าจะลงวันที่ลงไปใช่หรือไม่
2.เจ้าหนี้หรือผู้ถือเช็คมีสิทธิลงวันที่ด้วยตนเองใช่หรือไม่
3.ลูกหนี้อ้างว่าไม่ใช่การกู้เงินแต่เป็นค่าสร้างพระเนื่องจากบิดาของผู้ร้องเป็นประธานทำบุญบ่อยครั้ง ซึ่งหนี้นำมาอ้างแต่ผู้ร้องมั่นใจว่ามีการกู้เงินแน่ผู้ร้องจะแก้ต่างอย่างไร
4.ถ้ามีการสั่งยกเลิกเช็คไปแล้วจะมีเช็คตกมาถึงผู้ร้องหรือไม่
5.ลูกหนี้รายอื่นมีแต่เช็ค ผู้ร้องก็เคยชนะคดีแพ่งมาแล้ว กรณีลูกหนี้รายนี้ผู้ร้องมีเอกสารประมาณว่าเงินที่เคยมีการตกลงกันไว้กับบิดาของผู้ร้องโดยมีการเซ็นต์เช็คไว้เป็นประกันสามารถใช้เป็นหลักฐานมีน้ำหนักเพียงพอหรือไม่
6.หากผู้ร้องสามารถหาคนเขียนเอกสารดังกล่าวซึ่งมีลายเช็นต์ในเอกสารไปให้การเป็นพยานจะเป็นไปได้หรือไม่
7.กรณีผู้ร้องมีเช็คของลูกหนี้รายนี้ในส่วนที่ยังไม่ได้ยื่นต่อกรมบังคับคดีเนื่องจากยื่นไม่ทันจะนำมาใช้ เป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้หรือไม่
8.เช็คที่ผู้ร้องยื่นไม่ทันเวลาขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายจะสามารถนำมาฟ้องคดีแพ่งได้หรือไม่
9.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหลักพิจารณาว่าเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้อย่างไร
10.ผู้ร้องจะสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเกี่ยวกับคำตัดสินของพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หรือไม่
ประเด็นคำถาม
1.เช็คไม่ได้ลงวันที่มีอายุเพียงใด
2.ผู้ร้องสามารถลงวันที่ในเช็คได้หรือไม่
3.ผู้ร้องจะแก้ต่างอย่างไร
4.การยกเลิกเช็ค เช็คนั้นสามารถตกมาอยู่ที่ผู้ร้องได้หรือไม่
5.การที่ผู้ร้องมีเอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับการเซ็นต์เช็คไว้เป็นประกันจะมีน้ำหนักพอหรือไม่
6. การผู้ร้องนำพยานบุคคลไปสืบรับรองเกี่ยวกับเอกสารจะเป็นประโยชน์แก่คดีผู้ร้องหรือไม่
7.ผู้ร้องสามารถนำเช็คของลูกหนี้ไปยื่นเป็นหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อแก้ต่างคำคัดค้านของลูกหนี้ได้หรือไม่
8.ผู้ร้องจะนำเช็คที่ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ทันกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้มาฟ้องบังคับชำระหนี้เป็นคดีแพ่งได้อีกหรือไม่
9.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้หลักในการพิจารณาการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้อย่างไร
10.ผู้ร้องสามารถยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ที่ดินเป็นชื่อของยาย โดยสามีพี่สาวของยายปลูกสร้างบ้านบนที่ดินดังกล่าว ปัจจุบันพี่สาวของยายเสียชีวิตแล้ว ส่วนยายได้ย้ายครอบครัวไปอยู่จังหวัดสระแก้ว ขณะนี้จึงมีเพียงบ้านสามีพี่สาวของยายและครอบครัวบนที่ดินของยาย มารดามีปัญหาครอบครัวจึงกลับมาอยู่ที่จังหวัดสระบุรีโดยอาศัยนอนอยู่ที่บ้านของบุคคลดังกล่าวข้างต้น เพื่อทำงานเก็บเงินไว้สร้างบ้าน ในที่ดินของยายซึ่งกันไว้ให้ปลูกบ้านเพียงนิดเดียวเนื่องจากสามีพี่สาวของยายปลูกบ้านอยู่เป็นบริเวณกว้าง เวลาผ่านไปคนในบ้านนั้นมาก่อกวนถึงขั้นทำร้ายร่างกายมารดา แต่ตำรวจก็ไม่ได้ดำเนินการอะไร เพราะลุกของบุคคลดังกล่าวเป็นอบต.
ประเด็นคำถาม
ยายบอกให้ขายที่ดินแล้วย้ายไปอยู่กับยายที่สระแก้ว อยากทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่เพราะว่าเขาอยู่มานานตั้งแต่รุ่นยายยังสาว และถ้าขายที่ดินให้แก่ธนาคารจะทำได้หรือไม่ จะต้องแจ้งเขาอย่างไร เพราะกลัวว่าเขาจะโกรธแล้วตามมาทำร้ายร่างกาย
ข้อเท็จจริง
มีลูกหนี้ค้างชำระค่าเช่ารถมา 5-6 เดือนแล้วหายไปเลย ซึ่งมีหลักฐานค้างชำระเป็นเงิน 40,000 บาท และผู้ร้องได้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้นานแล้วแต่คดีไม่คืบหน้าเลย
ประเด็นคำถาม
อยากทราบว่าหากผู้ร้องจะขึ้นป้ายประจานเขาเพื่อให้เขามาชำระหนี้ โดยมีรูปและชื่อ พร้อมเขียนว่าบุคคลอันตรายผู้ร้องจะมีความผิดหรือไม่
ข้อเท็จจริง
1.ที่ดินแปลงที่บิดาปลูกยางพารามาประมาณ 11 ปี เป็นชื่อของคุณปู่โดยปู่ยกให้บิดาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เมื่อปู่เสียชีวิตบิดาก็ยังทำกินอยุ่ จนกระทั่งบิดาเสียชีวิต ผู้ร้องก็ยังทำกินต่อมาโดยที่ดินยังเป็นชื่อของปู่ โดยปู่มีบุตร 3 คน (ย่าเสียชีวิตแล้ว) ได้แก่ ลุง ซึ่งเสียชีวิตแล้ว โดยลุงมีทายาทคือภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องต้องการรับโอนมรดกที่ดินแปลงนี้ จึงอยากทราบว่าป้าสะใภ้ (ภรรยาของลุง) มีสิทธิในที่ดินแปลงนี้ด้วยหรือไม่ เพราะอา (น้องของบิดา) ไม่มีปัญหา กลัวแต่ป้าสะใภ้เท่านั้นที่จะมีปัญหา
2. ที่ดินแปลงที่บิดาปลูกบ้านอยู่เป็นชื่อของลุง แต่เป็นที่ดินเดิมที่ย่าซื้อไว้ก่อนลุงจดทะเบียนสมรส แต่ลุงไปออกโฉนดเป็นชื่อลุง ตอนนี้ที่ดินแปลงนี้ปลูกบ้านสามหลัง คือ บ้านอา บ้านลุง และบ้านบิดาของผู้ร้องตามลำดับ เมื่อลุงเสียชีวิตทายาทได้แต่งตั้งป้าสะใภ้เป็นผู้จัดการมรดก ผ่านทางสำนักงานอัยการ โดยทายาททำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกโดยที่ทรัพย์มรดกส่วนใหญ่เป็นที่ดินของปู่กับย่าแต่เป็นชื่อของลุง ปัญหาคือทายาทตกลงกันว่าที่ดินดังกล่าวให้แบ่งเป็นสามส่วน คือ ให้อา ป้าสะใภ้ และผู้ร้อง คนละส่วน แต่ในสัญญาไม่ได้ระบุเนื้อที่ว่าแบ่งกันคนละกี่ไร่เพราะผู้ร้องคิดว่าคงต้องแบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆกัน แต่เมื่อถึงวันที่เจ้าหน้าที่มารังวัด ป้าสะใภ้บอกว่าเขาจะแบ่งให้ใครเท่าใดก็ได้ จึงอยากถามว่าที่ดินแปลงนี้ต้องแบ่งเป็นสามส่วนเท่ากันหรือไม่ และผู้ร้องจะต้องทำอย่างไร ต้องฟ้องให้โอนตามสัญญาที่ทำที่สำนักงานอัยการหรือไม่
ประเด็นคำถาม
1.ป้าสะใภ้ มีสิทธิในที่ดินแปลงนี้แทนลุงหรือไม่
2.ที่ดินแปลงนี้ต้องแบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆกันหรือไม่ และต้องไปฟ้องป้าสะใภ้ให้โอนที่ดินตามที่ทำสัญญาไว้หรือไม่