หมวดหมู่ - แพ่ง
ข้อเท็จจริง
ศาลได้มีคำพิพากษาให้ที่ดินแปลงที่ 1 เปิดทางภาระจำยอมกว้าง 2.5 เมตรยาวตลอดแนวจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกให้กับที่ดินแปลงที่ 2 ซึ่งเป็นของนายเชน (บิดาของนายจิตร) ในขณะฟ้อง นายเชนเป็นโจทก์ ฟ้องถอนคืนการให้ นายจิตร ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณ แต่ประนีประนอมกันเปิดทางภาระจำยอม และ ศาลสั่งให้ไปจดทะเบียนทางภาระจำยอม ในวันที่ 22 ต.ค.2555 หากจำเลยไม่ไปจด ให้ถือคำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลย(นายจิตรไม่ไปจด โดยอ้างว่า ที่ดินแปลงที่ 1 มีนางจีรวรรณ เป็นเจ้าของร่วมด้วยไม่อาจไปจดทะเบียนได้) ต่อมา ผู้ร้องซื้อที่ดินของนายเชน และ ใช้ทางภาระจำยอมเป็นปกติ ประมาณ 3 เดือนต่อมาได้มีการนำไม้มาปิดกั้นทาง และ ปลูกต้นไม้บนทาง 2.5 เมตร จำนวน 2 ต้นในที่ดินที่เป็นส่วนของนาง จีรวรรณ (นายจิตรอ้างว่า นางจีรวรรณ ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดลงมาปิด ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้น นางจีรวรรณไม่ได้กลับบ้านมา กว่า 3 ปีแล้ว)
ประเด็นคำถาม
1.ผู้ร้องสามารถเอาไม้ที่ปิดกั้นทางออกได้หรือไม่ และ สามารถถอนต้นไม้ 2 ต้นนั้น ออกได้หรือไม่
2.ผู้ร้องต้องไปฟ้องนางจีรวรรณ เพื่อเปิดทางภาระจำยอมอีกครั้งหรือไม่
3.ผู้ร้องสามารถอ้าง ม.1398,1391 ได้หรือไม่ หรือ อ้างว่า นางจีรวรรณ ต้องไปยื่นคัดค้านคำสั่งศาล กรณีศาลสั่งให้เปิดทางยาวตลอดแนว ในส่วนของผู้ร้องขอยึดคำสั่งศาลเป็นหลัก โดยใช้ทางนั้นไปก่อน
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องทำงานอยู่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง และ ลาออกเพื่อไปทำงานกับโรงพยาบาลแห่งใหม่ ต่อมาฝ่ายบุคคลของโรงพยาบาลเดิมโทรมา และ แจ้งว่ามีการโอนเงินให้ผิด เพราะจริงๆผู้ร้องได้ลาออกแล้ว โดยเป็น ค่า พตส.จำนวน 1.5 เดือน (ปกติผู้ร้องได้เงิน ค่า พตส.เดือนละ 1,500 บาท โดยหักภาษี 10% ดังนั้นจะได้เงินจำนวนนี้สุทธิเดือนละ 1,350 บาท)
ต่อมาผู้ร้องได้ตรวจสอบบัญชีพบว่า มีเงินจำนวนดังกล่าวโอนเข้าบัญชีของผู้ร้องจริง คือ เดือนกุมภาพันธ์ 1,350 บาท และ เดือนมีนาคม อีก 1,350 บาท รวม 2 เดือน ผู้ร้องได้รับเงินดังกล่าวทั้งสิ้น 2,700 บาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิได้รับเฉพาะของเดือนกุมภาพันธ์ครึ่งเดือน คือ 750 บาท หักภาษีร้อยละ 10 แล้ว เหลือ 675 บาท ดังนั้น จึงมีเงินที่โอนมาให้ผู้ร้องเกินกว่าที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับ 2,025 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ผู้ร้องต้องคืนให้แก่โรงพยาบาลที่ผู้ร้องได้ลาออกมา แต่ ฝ่ายการเงิน แจ้งว่า ให้ผู้ร้องคืนเงินจำนวน 2,250 บาท โดยให้เหตุผลว่า ผู้ร้องจะได้รับเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายคืนในภายหลัง
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องต้องคืนเงินให้แก่โรงพยาบาลที่ลาออกมาแล้ว เป็นจำนวนเท่าใด
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องซื้อที่ดินติดกับทางภาระจำยอม(ออกสู่ทางสาธารณะ) ต้องการสร้างอพาร์ตเม้นต์ หรือ โรงแรม
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องมีสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมนั้นเพียงใด
ข้อเท็จจริง รถของผู้ร้องจอดอยู่ในห้างสรรพสินค้าและมีผู้เข็นรถของผู้ร้องไปชนกับรถที่จอดอยู่อีกคนหนึ่ง แต่คนที่เข็นรถได้ขับรถหลบหนีไป ซึ่งรปภ.ของที่ห้างสรรพสินค้าได้จดทะเบียนรถผู้เข็นไว้ได้
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1 ถ้าผู้ร้องไม่สามารถตามตัวคนที่เข็นรถมารับผิดชอบได้จะต้องทำอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายนี้
ข้อ 2 ผู้ร้องสามารถเรียกร้องความเสียหายจากห้างสรรพสินค้าได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องให้เพื่อนยืมเงินไป โดยทยอยยืมเป็นครั้งๆไป แต่เมื่อเดือนสิงหาคม2555 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน และ มีรายละเอียดในสัญญาเป็นยอดเงินทั้งหมด 300,000 บาท โดยในสัญญาระบุว่า ผู้กู้ต้องจ่ายคืนเป็นงวดๆละ 17,000 บาท ซึ่งผู้กู้ตกลงด้วย และได้ลงลายมือชื่อไว้ โดยมีมารดาของผู้กู้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา ผู้กู้ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด โดยจ่ายเพียงเดือนละ 6,000 - 8,000 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา (ผู้ร้องกู้เงินมาเพื่อให้เพื่อนคนนี้กู้ต่อ เมื่อไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงทำให้มีเงินไม่พอชำระหนี้ในส่วนของตน) เมื่อผู้ร้องทวงถาม ปรากฏว่าเพื่อนซึ่งเป็นลูกหนี้ ไม่รับสาย ทั้งแม่ของเพื่อนซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ รวมทั้งลูกหนี้ก็ได้ย้ายงาน และ ที่อยู่ ทั้งๆที่ในสัญญามีข้อตกลงระบุว่า หากมีการย้ายที่อยู่ต้องแจ้งให้ผู้ร้องทราบภายใน 7 วัน แต่ลูกหนี้ตั้งใจหนี และ หลบหน้า ผู้ร้องจะทำอย่างไรได้บ้าง อีกประเด็นคือ ผู้ร้องซื้อรถให้เพื่อนคนนี้ แต่ตอนที่มีปัญหาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 เพื่อนก็นำรถมาคืนและค้างค่างวดไว้อีก 2 เดือนโดยรับปากจะชำระหนี้ให้เรียบร้อย แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ยอมจ่าย เมื่อทวงถามก็บอกไม่มี หรือไม่ก็ไม่รับสาย เมื่อผู้ร้องติดตามบ่อยเข้า ฝ่ายลูกหนี้ได้โทรมาต่อว่าผู้ร้องกับมารดา ผู้ร้องจึงส่งข้อความกลับไปว่าอย่ามายุ่งกับมารดาของผู้ร้อง ไม่อย่างนั้นผู้ร้องจะไปเอาเรื่องกับมารดาของลูกหนี้บ้าง ฝ่ายลูกหนี้จึงเอาข้อความดังกล่าวไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ ลงบันทึกประจำวันไว้ว่าผู้ร้องข่มขู่
ประเด็นคำถาม
1.ในส่วนของสัญญากู้ จะไปฟ้องศาลไว้ก่อนได้หรือไม่(ในสัญญาระบุว่าต้องชำระหนี้ทั้งหมดให้เสร็จ ภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2557 เนื่องจากลูกหนี้จงใจหลบหนี และ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา
2.ในส่วนของค่างวดที่ค้างชำระอยู่ ถ้าไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้จะสามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากไม่มีพยานเอกสาร มีแต่พยานบุคคล
3.ถ้าผู้ร้องประสงค์จะแจ้งความกลับกรณีที่มารดาถูกโทรมาต่อว่า ทำให้มารดาของผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน
ข้อเท็จจริง
บริษัทเอ และ บริษัทบี มีผู้ถือหุ้น เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน บริษัทเอ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน(ที่ดินติดจำนองเป็นประกันเงินกู้กับธนาคาร) และ ให้บริษัทบีเช่า ก่อสร้างอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานบนที่ดินของบริษัทเอ อายุสัญญาเช่า ปีต่อปี ต่อมามีการตรวจสอบบัญชีพบว่า บริษัทบี ได้คำนวณค่าเสื่อมอาคาร 20 ปี สูงกว่าสัญญาเช่าที่ดิน
ประเด็นคำถาม
หากต้องการทำสัญญาเช่าที่ดินให้เป็นไปตามอายุอาคารคือ 20 ปี(เช่ามาแล้ว 7 ปี เหลือ13 ปี) ถ้าเป็นสัญญาที่มีอายุสัญญา 13 ปี ต้องไปทำนิติกรรมสัญญาการเช่า ยื่นต่อสำนักงานที่ดินหรือไม่ กรณีผู้ถือหุ้นในบริษัททั้งสอง เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน จะมีเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่ ที่จะระบุในสัญญา ที่จะยกเว้นสำหรับการจดทะเบียนสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี ระหว่างนิติบุคคล 2 แห่งที่มีผู้ถือหุ้นเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน
ข้อเท็จจริง
1.กรณีผู้ให้เช่า ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ในโรงงานบรรจุก๊าซซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ และ ระบุในสัญญาว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้ใช้ใบอนุญาตควบคู่กับโรงงานที่เช่า และ ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่เช่าโดยไม่มีค่าตอบแทน
2.ผู้ให้เช่า และ ผู้เช่าต่างทราบดีว่าในขณะที่ทำสัญญา ทรัพย์สินที่เช่าในส่วนของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างติดสัญญาจำนอง หากผู้รับจำนองดำเนินการตามกฎหมายในการบังคับจำนอง อันมีผลให้เกิดการรอนสิทธิ ทำให้ขาดประโยชน์ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไม่ฟ้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ประเด็นคำถาม
ข้อความต่อไปนี้ใช้ได้หรือไม่ และจะมีผลต่อผู้ให้เช่าอย่างไร
1.ถ้าเกิดกรณีผู้เช่าจะขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลา และ ขอคืนเงินมัดจำโดยจะไม่ทำเอกสารใดๆทั้งสิ้น
2.สัญญาที่ระบุข้างต้นจะผูกพันอย่างไรบ้าง
3.ถ้ากรณีมีใบอนุญาตหมดอายุก่อนสัญญาเช่า(สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา 3 ปี) หากผู้ให้เช่าไม่ดำเนินการใดๆ และ ปล่อยให้ใบอนุญาตขาดอายุไป ใครควรรับผิด และ ถือว่าเป็นความผิดของผู้ให้เช่าได้หรือไม่
4.หากมีการฟ้องร้องกัน ผู้ให้เช่าจะมีความผิดสถานใด
ข้อเท็จจริง
นาย ก. นำปืนไปจำนำเป็นประกันเงินกู้แก่นาย ข. จำนวน 40,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน ต่อมานาย ข.นำปืนกระบอกดังกล่าวมาจำนำกับ นาย ค.ในราคา 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน ซึ่งการจำนำครั้งหลังนั้น นาย ก.ก็ทราบ และ ให้ความยินยอม ผ่านมา 18 เดือน นาย ข.ไม่เคยชำระดอกเบี้ยแก่ นาย ค. แต่อย่างใด ต่อมา นาย ก.ขอไถ่ปืนคืนในราคา 65,000 บาท นาย ค.อ้างว่าตนไม่เคยได้รับดอกเบี้ยจากนาย ข.เลย อีกทั้งเวลาผ่านไปนานแล้ว และ ขอให้นาย ก.ไถ่ถอนคืนไปในราคา 80,000 บาท นาย ก.ไม่ยอม และ อ้างว่าจะไปแจ้งความของหาย
ประเด็นคำถาม
นาย ค.ควรทำอย่างไร สามารถยกข้อต่อสู้อย่างใดได้บ้าง และ หากไม่ยินยอมให้นาย ก.ไถ่ถอนทรัพย์กลับไปจะสามารถทำได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีกับ นาย ก. กับพวก แต่ไม่ได้ระบุชื่อตัวบุคคลอื่นนอกจาก นาย ก.เท่านั้น แต่พอในคำฟ้องกลับปรากฏมีชื่อ นาย ข. และ นาย ค.โผล่มาด้วย ทั้งที่ นาย ข. และ นาย ค.ไม่มีส่วนร่วมในการทำสัญญาขายที่ดินให้แก่โจทก์เลย
ประเด็นคำถาม
ปัญหานี้โจทก์มีอำนาจฟ้องนาย ข. และ นาย ค.หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องและเพื่อนบ้าน ได้ซื้อตึกแถวด้านหน้าของโรงแรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย (ตึกแถวกับเจ้าของโรงแรมเป็นคนเดียวกัน) โดยผู้ร้องซื้อมาเมื่อปี 2545 ต่อมาเมื่อประมาณปีใหม่ 2556 ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของโรงแรมโดยการขายให้กับเจ้าของใหม่ และ เจ้าของใหม่ที่มาซื้อโรงแรมมีความประสงค์จะปรับปรุงโรงแรมโดยการสร้างสปา และ ให้ตึกแถวทำทางระบายน้ำใหม่ ซึ่งแต่เดิมทางระบายน้ำของตึกแถวอยู่ในพื้นที่ของโรงแรม แต่เมื่อเปลี่ยนเจ้าของ ทางโรงแรมจึงต้องการปิดทางระบายน้ำเดิม แล้วให้ผู้ที่อาศัยในตึกแถวทำทางระบายน้ำใหม่ของแต่ละคน ซึ่งหากจะดำเนินการดังกล่าวต้องมีการทุบทำลายพื้นบางส่วนของตึกแถวออก เพื่อทำทางระบายน้ำใหม่
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถไม่ทำตามข้อเสนอของโรงแรมได้หรือไม่
กรณีของผู้ร้องเป็นกรณีภาระจำยอมหรือไม่
ผู้ร้องควรดำเนินการอย่างไรต่อไป