หมวดหมู่ - กฎหมายพิเศษ
ผู้ร้องจอดรถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อรับ-ส่งเพื่อนบริเวณป้ายรถเมล์หน้าห้างสรรพสินค้า เป็นเวลาประมาณ ๑ นาที จึงถูกตำรวจยึดใบขับขี่และเขียนใบสั่งให้ โดยระบุความผิดฐานจอดรถกีดขวางการจราจร
ประเด็นคำถาม
- การกระทำของผู้ร้องมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
- ตำรวจมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่
หอพักที่ผู้ร้องอาศัยอยู่มีลักษณะเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น มีห้องน้ำรวม อัตราค่าเช่าเดือนละ 1500 บาท แต่เดิมเจ้าของหอพักได้จดทะเบียนขออนุญาตจัดตั้งหอพักไว้ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2507 เจ้าของหอพักได้มีการต่อใบอนุญาตมาโดยตลอด จนกระทั่งได้มีการออกพระราชบัญญัติหอพักขึ้นมาใหม่และกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบหอพัก พ.ศ.2560 ต่อมานายทะเบียนได้ทำการประเมินมาตรฐานของหอพักเพื่อต่อใบอนุญาต ซึ่งนายทะเบียนไม่อนุญาต เนื่องจากการดำเนินกิจการของหอพักนั้นไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558 ในหลายๆกรณี นายทะเบียนจึงไม่สามารถออกใบอนุญาตให้แก่เจ้าของหอพักแห่งนี้ได้
ประเด็นคำถาม
- เจ้าของหอพักควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558
ที่ทำงานของผู้ร้องมีลักษณะเป็น Home Office และเจ้าของบริษัทซึ่งเป็นชาวต่างชาตินำสุนัขพันธุ์บุลลี่ (Bully) มาเลี้ยง โดยไม่มีการแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า เริ่มจากจำนวน 1 ตัว ต่อมาค่อยๆ เพิ่มเป็น 11 ตัว ซึ่งสุนัขพันธุ์ดังกล่าวเกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์จากสุนัขพันธุ์พิตบลู (Pitbull) เพื่อให้มีความดุร้ายน้อยลง แต่ยังคงมีความดุร้ายอยู่ดี
เจ้าของบริษัทวางแผนที่จะเลี้ยงดูสุนัขทั้ง 11 ตัวเพื่อผสมพันธุ์ขาย แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการจดทะเบียนหรือดำเนินการทางกฎหมาย หรือเอกสารใดๆ โดยสุนัขทั้ง 11 ตัว ถูกเลี้ยงอยู่ในกรงสุนัขที่ค่อนข้างแน่นหนา โดยมีประตูเข้าออกถึง 2 ชั้น เพื่อป้องกันมิให้สุนัขหลุดออกมาได้ ต่อมา ได้พาสุนัข 1 ตัวเข้ารับการฝึก แต่กลับยกเลิกโปรแกรมการฝึกกลางคันหลังจากฝึกไปได้เพียง 15 วัน ส่วนอีก 10 ตัวที่เหลือ ยังไม่ได้รับการฝึกใดๆ
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เจ้าของบริษัทได้ปล่อยสุนัขบางตัวออกมาเดินเล่นนอกกรงเป็นครั้งคราว โดยไม่มีอุปกรณ์ควบคุมหรือคนกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด (มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นหลักฐาน) ซึ่งบ่อยครั้งสุนัขได้ออกมาเดินอยู่ภายในออฟฟิศ สร้างความหวาดกลัวให้กับพนักงาน ทั้งยังสร้างความรำคาญใจให้กับพนักงานกรณีที่สุนัขถ่ายของเสียเรี่ยราดภายในออฟฟิศ พนักงานได้แจ้งความกังวลใจเกี่ยวกับภัยอันตรายจากสุนัขพันธุ์นี้ให้แก่เจ้าของบริษัททราบในที่ประชุม แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ที่เป็นรูปธรรม แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีพนักงานในบริษัทถูกสุนัขทำร้ายก็ตาม
ประเด็นคำถาม
1. การเลี้ยงสุนัขในกรณีนี้ผิดกฎหมายหรือไม่
2. ในฐานะลูกจ้างควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าของเป็นชาวต่างชาติซึ่งปฏิบัติต่อลูกจ้างชาวไทยแตกต่างจากลูกจ้างชาวต่างชาติ
3. เพื่อนร่วมงานชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงาน ก่อนเจ้าของบริษัทเลี้ยงสุนัขทั้ง 11 ตัว สามารถใช้สิทธิในการทำงานที่บ้านโดยไม่ถูกไล่ออกหรือได้รับผลกระทบทางลบใดๆ ได้หรือไม่
ผู้ร้องเป็นเจ้าของบริษัทเอกชน มีลูกจ้างขอลาเพื่อไปเกณท์หารเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งตามระเบียบการลาของบริษัทอนุญาตให้ลากรณี Leave Without Pay (การลาโดยไม่รับค่าจ้าง) เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยทางบริษัทไม่ติดใจการลา สามารถอนุมัติการลาดังกล่าวได้เพียงแต่ลูกจ้างจะมีสองสถานะคือ เป็นผู้รับราชการทหารและเป็นพนักงานของบริษัทด้วย ทั้งนี้ บริษัทไม่มีนโยบายไม่รับลูกจ้างที่ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหารเข้าทำงาน บริษัทผู้เป็นนายจ้างจะสามารถกำหนดระเบียบการลาไปรับราชการทหารของลูกจ้างได้อย่างไรบ้าง เพื่อมิให้ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
ผู้ร้องเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำงานมาเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยบริษัทนายจ้างได้ทำสัญญาจ้างแบบปีต่อปี หากเป็นกรณีที่บริษัทนายจ้างไม่ประสงค์ต่อสัญญารายปีอีกต่อไป เนื่องจากต้องการให้ลูกจ้างลาออกจากบริษัทกรณีหนึ่ง หรืออีกกรณีหนึ่งหากลูกจ้างยื่นใบลาออก ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายอย่างไรบ้าง
ผู้ร้องเลี้ยงสุกร จำนวน 3 ตัว ในสถานที่ซึ่งมีระยะห่างจากบ้านเรือนประมาณ 60 เมตร มีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบ เหตุคือ มีผู้แจ้งไปยังเทศบาลที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ ว่ามีกลิ่นเหม็นจากมูลสุกร จึงมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ปศุสัตว์ และสาธารณสุข เข้ามาตรวจสอบ โดยพบว่า ไม่มีกลิ่น เนื่องจากมีการจัดเก็บมูล และล้างทำความสะอาดดี ซึ่งการร้องเรียนดังกล่าวทำให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน วุ่นวาย
การเลี้ยงสุกร 3 ตัว มีกลิ่นน้อยมาก เข้าใจว่าโดนกลั่นแกล้ง สามารถดำเนินคดีกับผู้ร้องเรียนได้หรือไม่
ประเด็นคำถาม
1.หากรับราชการแล้วสามารถเรียนไปด้วย จะผิดระเบียบของทางราชการหรือไม่
2.กรณีลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่สามารถอยู่เวรได้สองที่ และหัวหน้าห้องเวรอีกห้องไม่ดำเนินการเอาชื่อลูกจ้างออกจากรายชื่อสามารถทำได้หรือไม่ และหากไม่ทำจะมีความผิดหรือไม่
3.การเข้าเวรของลูกจ้างราชการ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือไม่
ข้อเท็จจริง
..............
ประเด็นคำถาม
สัญญาค้ำประกันที่เป็นกฎหมายใหม่เปรียบเทียบกับกฎหมายเก่าว่าดีอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร
ข้อเท็จจริง:
ที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้ง 4 มีเอกสารสิทธิคือโฉนดที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าที่ดินนั้นติดทางสาธารณะ แต่ทางสาธารณะนั้นถูกปิดกั้นโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทำให้มีผู้ได้รับความเสียหาย ดังนี้
ผู้ฟ้องคดีที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 14122 รับซื้อมาจากนายประกิจ เหมเวช ไม่สามารถเข้าไปประกอบอาชีพในการปลูกกล้วยไข่ได้ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้ จำนวน 780,000 บาท
ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ต้องไปขอทำสัญญาผ่านที่ดินของนายเที่ยง เหมเวช โดยเสียค่าใช้จ่ายในการทำทางผ่านที่ดินของนายเที่ยงประมาณ 200,000 บาท ทั้งๆที่ในโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินของตนนั้นติดทางสาธารณะ
ผู้ฟ้องคดีที่ 3 ต้องอาศัยทางสัญจรเข้า-ออกของญาติพี่น้องแทนทางสาธารณะที่ถูกปิด
ผู้ฟ้องคดีที่ 4 เป็นบุตรของ นายหงู เหมเวช และเป็นเจ้าของที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 14120 ได้รับส่วนแบ่งมรดกมาจาก นายหงู เหมเวช ไม่สามารถผ่านเข้า-ออกไปประกอบอาชีพทำสวนผลไม้แก้วมังกรได้ จึงเดินผ่านที่ดินคนอื่นซึ่งเป็นญาติกัน ในบางครั้งการผ่านที่ดินนั้นก็มีปัญหากับทางญาติ จึงเป็นอุปสรรคในการผ่านทาง ส่งผลให้การผลิตขาดทุน ในปัจจุบันปลูกยางพาราไว้ การเข้าออกลำบากจึงปล่อยทิ้งไว้เหมือนที่รกร้างว่างเปล่า
ในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ช่างรังวัดชี้แนวเขตทางสาธารณะจนถึงโรงเรือนเลี้ยงไก่ และแปลงเกษตรที่ขุดเป็นร่องน้ำกีดขวางแนวเขตทางสาธารณะอยู่หลายตำแหน่ง ซึ่งบ่งบอกถึงการทำลายสภาพของทางสาธารณะอย่างสิ้นเชิงจนไม่สามารถมองออกว่าตรงไหนเป็นแนวเขตทางสาธารณะ มีเพียงหน้าบ้านของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกสู่ถนนหลัก และการรังวัดที่ดินนั้นยังไม่เสร็จสิ้นตามกระบวนการ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คือ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 คือ เอกชนผู้ปิดกั้นทางพิพาท
ประเด็นคำถาม:
1. ลักษณะคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองหรือไม่
2. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และผู้ถูกฟ้องที่ 2 จะมีความผิดอย่างไร
3. ผู้ร้องมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอย่างไรบ้าง
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องเป็นญาติของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชน เหตุเกิด ณ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี โดยรถจักรยานยนต์ของญาติผู้ร้องจอดรอข้ามทางอยู่ข้างถนนซึ่งมีลักษณะเป็นถนนร่วม 2 เลน ได้มีรถยนต์กระบะขับรถมาตามถนน ต่อมาในขณะนั้นรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่มาในช่องทางเดียวกันได้ขับรถตัดหน้ารถกระบะ ทำให้รถกระบะชนกับรถจักรยานยนต์คันที่ตัดหน้า และเสียหลักวิ่งลงข้างทางมาชนรถจักรยานยนต์ของญาติผู้ร้องที่จอดอยู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 3 คน และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ดังนี้
1. รถจักรยานยนต์ที่ตัดหน้า ได้รับความเสียหาย แต่คนขับขี่และคนซ้อนท้ายเสียชีวิต 2 ศพ
2. รถจักรยานยนต์ญาติผู้ร้อง ได้รับความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต1 ศพ มีผู้บาดเจ็บสาหัส(รักษาอยู่ใน ICU) 1 ราย
3. รถกระบะ หน้ารถยุบ มีผู้บาดเจ็บ 1ราย
ประเด็นคำถาม
1. ทางรถกระบะจะปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยเรียกร้องให้รถจักรยานยนต์คันที่ตัดหน้าที่รับผิดในความเสียหายได้หรือไม่
2. ทางญาติผู้เสียชีวิตสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินจากใครได้บ้าง และเรียกร้องตามสิทธิได้สูงสุดเท่าไหร่
2.1 พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถเรียกร้องได้เท่าไหร่ จากฝ่ายไหน
2.2 บริษัทประกันรถยนต์กระบะ (มีประกันชั้นหนึ่ง) แต่ไม่ทราบว่าจะปฏิเสธความรับผิดชอบตามที่กล่าวอ้างได้หรือไม่ เพราะอ้างว่าเกิดจากรถจักรยานยนต์คันที่วิ่งตัดหน้าทำให้รถเสียหลักมาชนรถญาติที่จอดอยู่เฉยๆ และถ้าเรียกชดใช้ค่าเสียหาย “เสียชีวิต” จะสามารถเรียกร้องได้สูงสุดเท่าไหร่
3. แนวทางต่อสู้คดีในการดำเนินคดีกับรถกระบะ เพราะรถกระบะจะปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งหมด โดยอ้างว่าต้นเหตุมาจากมีรถจักรยานยนต์วิ่งตัดหน้า ทำให้รถเสียหลักมาชนญาติผู้ร้องจนเสียชีวิต