หมวดหมู่ - กฎหมายพิเศษ
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องมีบิดาเป็นคนไทย แต่มารดาเป็นคนต่างด้าว ยังไม่มีสัญชาติไทยและยังไม่มีบัตรประชาชน ผู้ร้องเล่าว่ามารดาเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่ออายุ 18 ปี เมื่อบิดาพามารดาไปทำบัตรประชาชนก็ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นคนที่ไม่มีประวัติ ไม่มีคนรู้จักที่สามารถเป็นพยานในการทำบัตรประชาชนได้
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องต้องการทราบว่ามารดาของตนจะสามารถขอมีบัตรประชาชนได้หรือไม่ โดยวิธีการใด
ข้อเท็จจริง
เมื่อปี พ.ศ. 2535 ผู้ร้องซื้อที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินสวนมะขามหวาน โดยมีการทำสัญญาว่าจ้างปรับปรุงและดูแลสวนเป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อมาหลังจากทำสัญญา ประมาณ 4-5 ปี เจ้าของโครงการได้ละทิ้งหน้าที่ตามสัญญา และปล่อยให้โครงการรกร้าง ในขณะเดียวกันผู้ซื้อที่ดินในโครงการนี้ จำนวนหลายรายได้ติดตามหาตัวเจ้าของโครงการดังกล่าว ต่อมามีข่าวว่าเจ้าของโครงการนี้ได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ต่อมาหลังหมดอายุความ เจ้าของโครงการก็กลับปรากฏตัวต่อสังคมอีก สาธารณูปโภค การจัดบริการได้ถูกละเลย และไม่ได้ดำเนินการใดๆ ถนนในโครงการก็ยังเป็นดิน
ประเด็นคำถาม
1 ต้องการให้เจ้าของโครงการเข้ามารับผิดชอบดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภค จัดบริการสาธารณะ ปรับปรุงถนน ระบบระบายน้ำ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 และ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ผู้ร้องอยากทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ และมีอายุความหรือไม่
2 หากยังไม่ขาดอายุความจะต้องไปร้องเรียนที่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร
ข้อเท็จจริง
กำนันกับผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำการตัดต้นไม้ที่อยู่ในวัด ต้นไม้ที่ตัดเป็นต้นไม้ ในโครงการพระราชดำริของในหลวงท่านประธานให้มาปลูกในวัดแล้ว หลวงปู่ท่านดูแลมาตั้งแต่ต้นแล้ว ท่านเสียใจมาก กำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ตัดต้นไม้และยังมาขู่ฆ่าท่านและบอกว่าจะไปรื้อถอนทำลายกุฎีท่าน โดยมีสส. ท่านหนึ่งให้การสนันสนุน อยู่เบื้องหลัง ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้อง ขอคำปรึกษา
ประเด็นคำถาม
1.สามารถทำอะไรได้บ้าง
2.แจ้งข้อหาเพิ่มว่าหมิ่นประมาทได้หรือไม่
3.ชาวบ้านมีสิทธิเรียกร้องอรไร
4.สามารถปลดกำนันผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
5.พระในวัดมีสิทธิฟ้องร้องได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ในเขตวัฒนาและเขตสวนหลวง นายทุนซื้อที่สองฝั่งคลองพระโขนงแล้วสร้างสะพานข้าม จึงทำให้ทางถนนอ่อนนุชสามารถข้ามไปฝั่งพระโขนงได้อีกเส้นทางหนึ่ง แต่ประเด็น คือนายทุนสร้างไม้กั้นและมีรปภ. ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้ ยกเว้น คนซื้อ บ้านในหมู่บ้านหรือคอนโด ของนายทุน 2 เขตนี้มีการทำในลักษณะนี้ทั้ง 2 โครงการฯ
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1. ประชาชน สามารถใช้เส้นทางนี้ได้หรือไม่ (แนวคิดผู้ถาม คลองเป็นคลองสาธารณะ ทำไมนายทุนปิดทางข้ามได้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น นายทุน ก็ได้จากตัวโครงการ สุดท้าย คนในหมู่บ้านก็ออกมาใช้ถนนของรัฐบาล ถ้าเป็นหมู่บ้านปิด ประชาชนก็ไม่ควรเข้าไปใช้ ) ช่วยอธิบายด้วย
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องขอออกโฉนดที่ดินไว้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่ถูกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ผู้ใหญ่บ้านและอดีตนายกอบตหนองบัว ) คัดค้านไว้โดยกล่าวอ้างว่าผู้ร้องนำหลักเขตเข้าไปในถนน (ทางเกวียนเก่า ) จึงทำให้กระทำยังไม่สามารถออกโฉนดได้จนถึงทุกวันนี้
ที่ดินของผู้ร้องขอออกโฉนดเป็นที่ดินที่ได้มรดกมาจากบิดาเป็น นส3ก จำนวน 15 ไร่ 2 งาน โดยที่ดินแปลงนี้มีคลองชลประทานผ่านแปลงทำให้ที่ดินแบ่งออกเป็น 2 ที่ คือแปลงเหนือ – ใต้ซึ่งแปลงที่ดินทางด้านทิศตะวันออกตลอดแนวติดทางเกวียนเก่า ไม่มีเกวียนใช้ก็ไม่มีใครใช้เรื่อยมา ต่อมามีการเวียนคืนที่ดินเพื่อขุนคลองชลประทาน โครงการทุ่งวัดสิงห์ได้ทำการปรับทางเกวียนเก่าติดกับแปลงให้เป้นทางเดิน ส่วนทางเหนือได้ปรับปรุงในปี 2549 อบต.ได้มาสำรวจและถมดินทางเกวียนเพื่อปรับเป็นถนน แต่เนื่องจากแนวเขตทางเกวียนไม่ตรงกัน โดยทางนายกอบต.หนองบัว กับพวก ของปรับผู้ร้องไม่ว่าอะไร แต่เมื่อทำแนวใหม่ทำให้ตรงแนวถนนต่อกับที่ดินทางใต้ซึ่งขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่ตรงกัน ผู้ร้องได้คัดค้าน มีปัญหาเรื่องการชี้แนวเขต โดยฝ่ายผู้นำท้องถิ่น อ้างว่าผู้ร้องชี้นำวางหลักเขตปักในเขตถนนต้องให้วางห่างออกไปอีก 1.25 เมตร ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงขอรอเอกสารที่ทางที่ดินส่วนแยกวัดสิงห์ เพื่อให้นายอำเภอวัดสิงห์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาตรวจสอบ และทางนายอำเภอได้ให้ปลัดอำเภอมาตรวจดูก็ไม่ได้ข้อยุติ
ต่อมานายอำเภอวัดสิงห์ให้ทาง อบต.หนองบัว ทำเรื่องขอตรวจสอบที่ดินใกล้เคียง และได้นัดตรวจสอบเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 ปรากฎว่าแปลงตรงข้ามถนนที่ตรงกับที่ผู้ร้องมีปัญหาคัดค้านกันเป็นของนายสำราญ อินทร์อ่อน ซึ่ได้ขอออกโฉนดที่ดินแบบเดินสำรวจก่อนปี 2555 แต่ปรากฎว่าหลักเขตทางทิศเหนือหายไปและหลักเขตที่ดินทิศใต้ของนายสำราญไม่ตรงกับโฉนดที่ดินที่ถือไว้แต่อย่างใด ทำให้เจ้าหน้าที่ยกเลิกการตรวจสอบ และมีกรรมการบางท่านของให้ผู้ร้องขยับเขตออกไป กระทำเห็ว่าไม่ถูกต้องก้ไม่ขยับหลักเขต จึงทำให้ผู้ร้องไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้จนถึงปัจจุบัน
เมื่อปี 2554 ก่อนที่ผู้ร้องจะขอออกโฉนดที่ดินนั้น ผู้ร้องได้มีการพิพาทกับทางที่ดินของนายชูพงษ์ คงกระพันธ์ ทางทิศตะวันตก โดยระหว่างแลงที่ดินมีการขุดดลองไสัไก่โดยขอแบ่งที่ดินคนละครึ่งเพื่อส่งน้ำให้แปลงนาด้านหลังในปี 2554 นั้น ทางโครงการน้ำถึงนาทางชลประทานจึงจัดกลบคลองไส้ไก่ทั้งหมดเพื่อบดดินอัดใหม่เพื่อจะเทปูน นายชูพงษ์ คงกะพันธ์
ขณะนั้นขอออกโฉนดที่ดิน จึงได้นำชี้แนวเขตที่ดินข้ามแนวคลองเดิมมายังเขตที่ดินของผู้ร้อง 12 เมตร ผู้ร้องได้คัดค้าน ซึ่งขณะคัดค้านทางชนประทานต้องการทำคลองไส้ไก่ให้แล้วเสร็จจึงให้ผู้ใหญ๋ หมู่ 4 หนองบัว กับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวขณะนั้น ร่วมชี้แนวจะทำคลอง จึงทำให้ชลประทานเข้าใจผิดมาขุดต้นไม้และเตรียมจะขุดคลองไส้ไก่จนทำให้ไปแจ้งความเอาผิดกับชลประทาน แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ผู้ร้องไปตรวจสอบที่ดินก่อนจึงจะดำเนินการได้ และเมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฎว่าที่ดินเหลือ 11 ไร่ 2 งานกว่าๆ และเดือนมกราคม ปี 2555 นายชูพงษ์ คงกระพันธ์ยอมให้ชลประทานทำคลองไส้ไก่ในแนวเดิมโดยการช่วยเหลือของผู้ใหญ่หมู่ 4 หนองบัว กับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และเมื่อผู้ร้องขอออกโฉนดที่ดินจึงมาคัดค้านดังกล่าว
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1. ถ้านายอำเภอยังไม่ดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ข้อ 2. กฎหมายทางสาธารณะประโยชน์กำหนดไว้กี่เมตร ซึ่งถนนที่ อบต.หนองบัวทำแล้วกว้างประมาณ 4 เมตร
ข้อ 3. มีแนวใดบ้างที่ผู้ร้องต้องทำ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม
ข้อเท็จจริง:
ผู้ร้องต้องการนำวัสดุมาประดิษฐ์เป็น หอไอเฟลของฝรั่งเศส แล้วจำหน่ายในประเทศไทย หรือขายทางอินเทอร์เน็ต จะมีความผิดอย่างไรหรือไม่
ประเด็นคำถาม:
การกระทำของผู้ร้องเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
ข้อเท็จจริง:
ผู้ร้องเป็นพนักงานประจำในโรงงานแห่งหนึ่ง รวมตัวกันเป็นชมรมดนตรีและเล่นเพลงตามสถานที่สาธารณะ เพื่อขอรับบริจาคเงินไปช่วยเหลือตามสถานที่ต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน สถานสงเคราะห์ วัตถุประสงค์คือ เล่นดนตรีการกุศลเพื่อสังคม
ประเด็นคำถาม:
การกระทำของผู้ร้องเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
ข้อเท็จจริง
เมื่อปี พ.ศ. 2535 ผู้ร้องซื้อที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินสวนมะขามหวาน โดยมีการทำสัญญาว่าจ้างปรับปรุงและดูแลสวนเป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อมาหลังจากทำสัญญา ประมาณ 4-5 ปี เจ้าของโครงการได้ละทิ้งหน้าที่ตามสัญญา และปล่อยให้โครงการรกร้าง ในขณะเดียวกันผู้ซื้อที่ดินในโครงการนี้ จำนวนหลายรายได้ติดตามหาตัวเจ้าของโครงการดังกล่าว ต่อมามีข่าวว่าเจ้าของโครงการนี้ได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ต่อมาหลังหมดอายุความ เจ้าของโครงการก็กลับปรากฏตัวต่อสังคมอีก สาธารณูปโภค การจัดบริการได้ถูกละเลย และไม่ได้ดำเนินการใดๆ ถนนในโครงการก็ยังเป็นดิน
ประเด็นคำถาม
1 ต้องการให้เจ้าของโครงการเข้ามารับผิดชอบดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภค จัดบริการสาธารณะ ปรับปรุงถนน ระบบระบายน้ำ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 และ พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ผู้ร้องอยากทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ และมีอายุความหรือไม่
2 หากยังไม่ขาดอายุความจะต้องไปร้องเรียนที่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร
ข้อเท็จจริง:
ที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้ง 4 มีเอกสารสิทธิคือโฉนดที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าที่ดินนั้นติดทางสาธารณะ แต่ทางสาธารณะนั้นถูกปิดกั้นโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทำให้มีผู้ได้รับความเสียหาย ดังนี้
ผู้ฟ้องคดีที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 14122 รับซื้อมาจากนายประกิจ เหมเวช ไม่สามารถเข้าไปประกอบอาชีพในการปลูกกล้วยไข่ได้ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้ จำนวน 780,000 บาท
ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ต้องไปขอทำสัญญาผ่านที่ดินของนายเที่ยง เหมเวช โดยเสียค่าใช้จ่ายในการทำทางผ่านที่ดินของนายเที่ยงประมาณ 200,000 บาท ทั้งๆที่ในโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินของตนนั้นติดทางสาธารณะ
ผู้ฟ้องคดีที่ 3 ต้องอาศัยทางสัญจรเข้า-ออกของญาติพี่น้องแทนทางสาธารณะที่ถูกปิด
ผู้ฟ้องคดีที่ 4 เป็นบุตรของ นายหงู เหมเวช และเป็นเจ้าของที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 14120 ได้รับส่วนแบ่งมรดกมาจาก นายหงู เหมเวช ไม่สามารถผ่านเข้า-ออกไปประกอบอาชีพทำสวนผลไม้แก้วมังกรได้ จึงเดินผ่านที่ดินคนอื่นซึ่งเป็นญาติกัน ในบางครั้งการผ่านที่ดินนั้นก็มีปัญหากับทางญาติ จึงเป็นอุปสรรคในการผ่านทาง ส่งผลให้การผลิตขาดทุน ในปัจจุบันปลูกยางพาราไว้ การเข้าออกลำบากจึงปล่อยทิ้งไว้เหมือนที่รกร้างว่างเปล่า
ในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ช่างรังวัดชี้แนวเขตทางสาธารณะจนถึงโรงเรือนเลี้ยงไก่ และแปลงเกษตรที่ขุดเป็นร่องน้ำกีดขวางแนวเขตทางสาธารณะอยู่หลายตำแหน่ง ซึ่งบ่งบอกถึงการทำลายสภาพของทางสาธารณะอย่างสิ้นเชิงจนไม่สามารถมองออกว่าตรงไหนเป็นแนวเขตทางสาธารณะ มีเพียงหน้าบ้านของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกสู่ถนนหลัก และการรังวัดที่ดินนั้นยังไม่เสร็จสิ้นตามกระบวนการ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คือ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 คือ เอกชนผู้ปิดกั้นทางพิพาท
ประเด็นคำถาม:
1. ลักษณะคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองหรือไม่
2. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และผู้ถูกฟ้องที่ 2 จะมีความผิดอย่างไร
3. ผู้ร้องมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอย่างไรบ้าง
ข้อเท็จจริง:
ผู้ร้องต้องการซื้อเสื้อผ้ามียี่ห้อของแท้ลดราคาจากงาน Event ต่างๆ หรือจากห้างสรรพสินค้าแล้วนำมาขายต่อตามตลาดนัด จะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่นหรือไม่
ประเด็นคำถาม:
การกระทำโดยการซื้อเสื้อผ้ามียี่ห้อซึ่งเป็นของแท้ แล้วนำมาขายต่อ เป็นความผิดฐานใดหรือไม่