หมวดหมู่ - กฎหมายพิเศษ
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องต้องการจะเปลี่ยนนามสกุล ไปใช้นามสกุลเก่าของคุณยาย ซึ่งตอนนี้ยายของผู้ร้อง ไม่ได้ใช้นามสกุลนั้นมานานแล้ว ยายของผู้ร้องได้จดทะเบียนสมรสกับตาของผู้ร้อง ส่วนเจ้าของนามสกุล ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว โดยนามสกุลนี้เป็นนามสกุลพระราชทาน
ประเด็นคำถาม
1 ผู้ร้องสามารถใช้นามสกุล ของยายได้เลยหรือไม่
2 ป้าของผู้ร้อง(ลูกพี่ลูกน้องของคุณแม่) ได้ขอร่วมใช้นามสกุลเก่าของยายของผู้ร้อง มาตั้งแต่ป้ายังเด็ก(ประมาณ 60 ปี แล้ว) สามารถอนุญาตให้ผู้ร้องใช้นามสกุลนี้ได้หรือไม่
3 ถ้าผู้ร้องจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของคุณป้า ผู้ร้องมีสิทธิใช้นามสกุลเดียวกับป้าหรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องได้นำเงินของรัฐออกมาใช้ และข้าพเจ้าได้นำเงินคืนรัฐแล้ว ผู้ร้องอยากทราบว่าตอนสอบวินัย ผู้ร้องจะต้องออกจากงานหรือเปล่า
ประเด็นคำถาม
เมื่อมีการสอบวินัย ผู้ร้องจะต้องออกจากงานหรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นสมาชิกของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผู้ร้องติดตามข่าว มีปัญหาว่า นายศุภชัย ซึ่งเป็นประธานสหกรณ์ฯ ปล่อยเงินกู้ จำนวน 1 หมื่น 2 พันล้านบาท ทราบว่าให้ 27 บริษัท กู้ยืมเงิน โดยนายศุภชัย เป็นเจ้าของด้วย 4-5 บริษัท และบริษัทอื่นๆ ก็ไม่มีธุรกิจอะไรที่มั่นคง ส่อเค้าว่าจะผิดระเบียบในการปล่อยกู้ (หายทั้งต้นและดอกหนี้ไม่มีราคา) ดี เอส ไอ บอกว่าได้อายัดทรัพย์สินของนายศุภชัยแล้ว และ ป.ป.ง. เข้าตรวจสอบเรื่องเงิน (ตามข่าว ดี เอส ไอ) ปลัดกระทรวงเกษตรฯ มีหนังสือมายังอธิบดีกรมส่งเสริมฯให้ปลดนายศุภชัย เพราะเมื่อปี 2556 นายศุภชัย ได้รับเลือกเป็นประธาน เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2556 อีกครั้ง จนปัจจุบันนี้สมาชิกยังไม่ได้รับเงินปันผล และผู้ที่ถอนหุ้นก็ไม่ได้เงิน ได้แค่กระดาษแผ่นเดียว เขาว่าจะโทรศัพท์ให้มารับเงิน แต่ก็ได้เลื่อนการจ่ายเงินออกไปหลายครั้ง ซึ่งผู้ร้องเห็นเป็นอีกมุมมองหนึ่งว่าเป็นการเลื่อนเวลาออกไปเรื่อยๆ และครั้งสุดท้ายเขาได้ประกาศว่าจะจ่ายเงินในเดือน สิงหาคม 2556 หากเขาแก้ปัญหาไม่ได้เขาพร้อมที่จะลาออกจากการเป็นประธาน ซึ่งปัจจุบันนี้เรื่องดังกล่าวยังคงเงียบอยู่เหมือนเดิม
ประเด็นคำถาม
1 กระทรวงเกษตรฯ จะช่วยอย่างไร
2 ถ้าเขาผิดจริงเขาจะติดคุกไหม
3 กระบวนการต่างๆ จะใช้เวลานานไหม (เหมือนกรณี ธนาคารบีบีซี)
4 ถ้าเขาผลัดไปเรื่อยๆ และอ้างว่ากำลังฟื้นฟู ทางกรมส่งเสริมฯ จะมีวิธีการเร่งไหม หรือปล่อยไปเรื่อยๆ
5 ผมได้ทำเรื่องถอนหุ้นแล้วต้องแจ้งความเป็นหลักฐานไหมและไปแจ้งที่ไหน
6 ต้องติดตามเรื่องที่ไหน
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องไม่ได้ให้ข้อเท็จจริง
ประเด็นคำถาม
1.ปืนมีทะเบียนพกพาในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษหรือไม่
2.ปืนมีทะเบียนแต่คนพกพาเป็นคนละคนกันมีโทษหรือไม่
3.ปืน หมายความว่าอะไร
4.โทษของการพกปืนโดยนายทะเบียนไม่อนุญาตมีอย่างไร
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา รับราชการตั้งแต่ปี 2538 ปัจจุบันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งครูปิดเทอม 1-30 เมษายน 2556 ผู้ร้องไม่ได้หยุดเช่นข้าราชการครูคนอื่นๆ วันที่ 2 -3 พฤษภาคม 2556 ผู้ร้องได้ขอลากิจเพื่อไปเยี่ยมญาติต่างจังหวัด
ประเด็นคำถาม
ผู้อำนวยการมีสิทธิระงับการลากิจของผู้ร้องได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง บิดาผู้ร้องได้ทำกิจการสถานีน้ำมันกับบริษัทแห่งหนึ่งแล้วก็ใช้ที่ดินที่ประกอบกิจการจำนอง เป็นประกันกับบริษัท โดยภายใต้เงื่อนไขหลายๆอย่าง เมื่อทำไม่ได้ก็ถูกปรับเงินเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลายๆอย่างทำให้เกิดหนี้มากมายกับบริษัท อีกทั้งความไม่รู้เกี่ยวกับกฎหมายด้วย ต้องขายที่ดินเป็นจำนวนมากเพื่อใช้หนี้แต่หนี้ก็ไม่หมดแต่ที่ดินอื่นๆหมดไป แล้วบริษัทก็ แนะนำให้ บิดาผู้ร้องขายกิจการเหล่านี้กับบริษัท แล้วบิดาผู้ร้องก็ได้เช่าที่ทำกินแห่งนี้กับบริษัทแทน ส่วนบริษัทก็เอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนี้เข้าธนาคารอีก ตอนนี้บิดาผู้ร้องได้มาประกอบกิจการแทนบิดาเพราะท่านได้เสียชีวิตแล้ว ขณะนี้ผู้ร้องก็ยังเช่าบริษัทโดยทำหนังสือสัญญาเช่าปีต่อปี ภายหลังที่บิดาผู้ร้องเสียชีวิต ผู้ร้องก็ติดต่อกับบริษัทเพื่อสอบถามเกี่ยวกับราคาเพราะต้องการซื้อคืน(ถ้าไม่เกินกำลัง)แต่บริษัทก็บอกว่าให้เช่าต่อไป ไม่ต้องกังวลอะไร ยังไม่บอกราคากับผู้ร้องเหมือนเดิม ต่อมาผู้ร้องก็สอบถามเขาอีก เขาก็บอกว่าถ้าอย่างไรก็รอซื้อตอนบังคับดีแล้วกัน ผู้ร้องรู้สึกว่ามันยิ่งยุ่งยากซับซ้อนมากเข้าไปทุกทีสำหรับคนที่ไม่มีความรู้ในทางกฎหมายอย่างผู้ร้อง ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องจึ่งเรียนปรึกษา และขอคำชี้แนะจากผู้รู้ทั้งหลาย บอกผู้ร้องด้วยว่าควรทำอย่างไรดี
ประเด็นคำถาม
1. ผู้ร้องสามารถซื้อคืนได้หรือเปล่า
2. ผู้ร้องจะติดต่อสอบถามราคาและขอซื้อคืนจากใคร
3. ผู้ร้องควรทำอย่างดีกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อเท็จจริง สามีผู้ร้องซื้อที่ดินมีโฉนดเลี้ยงปลาปลายเมื่อปี 2538 ต่อมารัฐมีนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน เจ้าของที่ดินข้างเคียงขอให้ช่วยยืนยันแนวเขตที่ดินเพื่อแจ้งขอออกโฉนดที่ดินจากที่ดิน ส.ค.1 โดยเป็นชื่อของคนอื่นแต่อ้างว่าตนเองซื้อต่อมา สามีก็ยืนยันแนวเขตให้แจ้งว่าเป็นที่ดินของฝ่ายผู้ร้องเป็นบ่อปลา ดังนั้นเราขอยืนยันแนวเขตสุดคันดินที่เป็นทางเดินทั้งหมดให้ออกเป็นโฉนดเฉพาะที่เขาทำนาเท่านั้น และมีการลงแนวเขตเป็นเสากัน ปัจจุบันสามีถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 1 ข้อหาบุกรุก เนื่องจากมีคนรู้จักเข้าไปปลูกต้นกล้วยบนคันดินที่ดินนั้น และทางเราปล่อยให้ทำ ทางศาลแจ้งว่าถือเป็นบริวารของสามี โจทก์อ้างสิทธิในการขอออกโฉนดที่ดินประมาณเดือนมกราคม 2556 ตามแนวหมุดของที่ดินด้านบน ไม่ได้ถือตามแนวที่ตกลงกันไว้ แต่เนื่องจากเป็นการตกลงด้วยวาจาจึงไม่มีพยานเอกสาร นอกจากพยานบุคคล ดังนั้น สามีผู้ร้องจึงไปขอดูเอกสารการออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินว่าทำไมตอนออกโฉนดที่ดินปี 2556 จึงไม่ได้รับการแจ้งเอกสารจากกรมที่ดิน เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าการเซ็นยืนยันหลักเขตเมื่อ 10 ปีก่อนใช้ได้ และสามีได้ข้อมูลว่าคนละแวกเดียวกันที่ขอออกโฉนดพร้อมกับโจทก์ไม่สามารถออกได้แม้แต่รายเดียว ดังนั้น เราจึงขอตรวจดูเอกสารการออกโฉนดแปลงดังกล่าว ปรากฏว่ามีการทักท้วงจากเจ้าพนักงานหลายครั้งว่าเป็นที่สาธารณะไม่สามารถออกโฉนดได้ แต่มีบางฉบับแจ้งทางราชการไม่ได้ขึ้นทะเบียนสาธารณะไว้จึงสามารถออกโฉนดได้ แต่มีข้อโต้แย้งจากกรมที่ดินว่าเป็นที่สาธารณะไม่ว่าจะมีการขึ้นทะเบียนหรือไม่ก็ยังคงเป็นที่สาธารณะอยู่ดี
ผู้ร้องทราบมาว่า มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวจากพรรคการเมือง และทางราชการก็แทงเรื่องว่าเป็นที่หัวไร่ปลายนาจึงออกโนดที่ดินให้ ทั้งที่ความจริงโจทก์ไม่ได้มีที่ดินติดกับที่ดินแปลงดังกล่าวเลย ผู้ร้องเห็นว่าเราได้ใช้ประโยชน์ในการเดินบนที่ดินมาตลอดถือว่าเป็นทางสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันจึงไม่สมควรจะออกโฉนดที่ดิน และเมื่อสอบถามไปที่กรมที่ดิน กรมที่ดินแจ้งว่าไม่สามารถคัดค้านได้เนื่องจากออกโฉนดมาแล้ว ถ้ามีช่องทางก็ร้องขอต่อศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่ออกสารทั้งหมดทางสำนักงานที่ดินไม่ให้ถ่ายออกมา แจ้งว่าจะต้องขอหมายศาลจึงจะถ่ายออกมาได้(โจทก์เป็นอดีตนักการเมืองท้องถิ่น)
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถใช้ช่องทางใด และประเด็นใดในการเพิกถอนการออกโฉนดดังกล่าวบ้าง เนื่องจากนิติกรของกรมที่ดินแจ้งว่า ถ้าร้องทางกรมที่ดินก็อาจจะไม่มีประโยชน์ การร้องประเด็นที่สาธารณะ บุคคลไม่สามารถร้องได้ แต่ประเด็นเรื่องการขออกโฉนดที่ดินในที่สาธารณะแปลงดังกล่าวทำให้ผู้ร้องเดือดร้อน ขอความรู้และขอความเป็นธรรมด้วย
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องได้ซื้อบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ชื่อหมู่บ้านมารวย ถนนร่มเกล้า หมู่บ้านนี้ตั้งมาแล้วประมาณ 10 กว่าปี ผู้ร้องได้อยู่อาศัยมาประมาณ 5 ปี ถนนทางออกมีทางเดียว เป็นหมู่บ้านปิด มียามเปิด-ปิด ประตูทางเข้าหมู่บ้าน โดยเก็บค่าส่วนกลางประมาณ 300 บาท และรั้งติดกับโรงเรียนสารศาสน์ร่มเกล้า ทางหมู่บ้านมีที่ดินเปล่าว่างอยู่ 1 แปลง ประมาณ 1 ไร่ ที่ตรงนั้นติดกับโรงเรียน เมื่อประมาณ 2 เดือน ที่แล้ว หมู่บ้านได้ขายที่ส่วนนั้นให้กับโรงเรียนแล้ว ทางโรงเรียนได้ล้อมรั้ว เจาะช่อง เป็นทางเข้าออกในฝั่งของหมู่บ้าน เพื่อให้รถของผู้ปกครองที่มาส่งเด็กนักเรียนสามารถผ่านเข้า-ออก ผ่านหมู่บ้านได้ ซึ่งรถที่เข้ามาในหมู่บ้านต้องเลี้ยวเข้าทางเดียวกัน ทำให้ในหมู่บ้านรถติด เกิดความไม่ปลอดภัยของเด็ก ทรัพย์สินของบ้านพักในหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านให้เหตุผลว่าเซ็นต์ภาระจำยอมในการใช้ถนนให้กับโรงเรียนไปแล้ว
ประเด็นคำถาม
1. จะไม่ยอมให้รถของโรงเรียนผ่านเข้าออกได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไร
2. ถ้าทรัพย์สินสูญหายสามารถเอาผิดกับหมู่บ้านได้หรือไม่
3. ถ้ารถเกิดชนเด็กที่วิ่งเล่นอยู่ในหมู่บ้าน สามารถเอาผิดกับหมู่บ้านได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
หมู่บ้านจัดสรร มาบอกว่าถ้าจะเข้าออก ต้องซื้อบัตรผ่านทางเป็นรายเดือน ที่ดินแปลงดังกล่าว เดิมเป็นของโครงการหมู่บ้านเช่นกัน แต่จำนองไว้กับธนาคาร แล้วถูกธนาคารยึด และขายต่อให้กับ บ.ส.ก ที่ดินดังกล่าวมีประมาณ 20 แปลง โดยหมู่บ้านตั้งมาแล้วประมาณ 20 ปี แต่ยังขายไม่หมดเพราะโครงการใหญ่มาก
ประเด็นคำถาม
1. ถนนที่เป็นทาง เข้า-ออก เป็นกรรมสิทธิ์ของใคร
2. การที่หมู่บ้านเก็บค่าผ่านทาง กระทำถูกหรือไม่
ข้อเท็จจริง ขับรถจักรยานยนต์ใส่หมวกที่หน้ากากเป็นปรอท มีความผิดหรือเปล่าครับ ถ้ามีความผิดจะมีอัตราค่าปรับเท่าใดครับ คือได้ใบสั่งมาแต่ในใบสั่งไม่ได้ระบุจำนวนเงินค่าปรับไว้
ประเด็นคำถาม
ขับรถจักรยานยนต์ใส่หมวกนิรภัย ซึ่งมีส่วนของหน้าหน้ากากของหมวกเป็นสีปรอท มีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดจะมีอัตราค่าปรับเท่าใด