การวางท่อผ่านที่ดินคนอื่น
ข้อเท็จจริง
บริษัท ของที่บ้านจำเป็นต้องวางท่อน้ำผ่านที่ดินที่ดินของบริษัท ก เพื่อรับน้ำจากบ่อน้ำ โดย บริษัท มีความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท ก โดยตกลงทำสัญญาการให้สิทธิ์วางท่อผ่านที่ดิน เป็นเวลา 20 ปี โดยบริษัท ก ไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือค่าวางท่อผ่านที่ดิน เพราะมีประโยชน์ต่างตอบแทนในรูปแบบอื่นอยู่ 2 อาทิพย์ ก่อนเซ็นสัญญร บริษัท ก ได้แจ้งให้ทราบข้อกฎหมายว่า การให้สิทธิวางท่อน้ำเหนือที่ดิน (right of way ) ทางกฎหมายระบุว่า ต้องมีการเก็บเป็นรายได้ และต้องแสดงรายได้ส่วนนี้ในการเสียภาษี โดยบริษัท ก เอง ก้ไม่ได้ต้องการเก็บค่าวางท่อน้ำ แต่ต้องการทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1. มีข้อกฎหมายกำหนดการให้สิทธิวางท่อน้ำผ่านต้องมีการคิดเป้นรายได้หรือไม่
ข้อ 2. ผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้านิติบุคคลทั้งสองไม่คิดค่าวางท่อน้ำผ่านที่ดิน
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ ( 4 )
การดำเนินการให้คำปรึกษา
ข้อ 1 “ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 กำหนดให้เจ้าของที่ดินเมื่อได้รับค่าตอบแทนตามสมควรต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางอื่นที่จะผ่านได้ หรือวางได้แต่เปลิองเงินมากเกินควร แต่เจ้าของที่ดินอาจยกเอาประโยชน์ของตน ขึ้นพิจารณาด้วย “
ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินที่ยินยอมให้วางท่อน้ำผ่านที่ดินของตนต้องคิดค่าทดแทนแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดให้เจ้าของที่ดินมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการให้วางท่อผ่านที่ดิน เมื่อเป็นสิทธิแสดงว่าผู้ที่มีสิทธจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องคิดค่าตอบแทนดังกล่าว
ข้อ 2 แต่เนื่องจากทั้งผู้ร้องและบริษัท ก เป็นนิติบุคคล ซึ่งตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ ( 4 )
“ กำหนดให้การโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือการให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ย หรือมีค่าบริการ หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน ” ในเรื่องของการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อนำมาคำนวณภาษีนิติบุคคลด้วย
ดังนั้น จากข้อเท็จจริงการที่บริษัทเจ้าของที่ดิน ก ให้สิทธิการวางท่อน้ำผ่านที่ดินโดยไม่คิดค่าตอบแทนกับบริษัทผู้ร้อง ซึ่งเป็นบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลเหมือนกัน เป็นการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนนั้น สามารถทำได้เมื่อมีเหตุอันควร โดยบริษัทเจ้าของที่ดินต้องแสดงเหตุอันสมควรต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าเหตุใดจึงไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งถ้ามีเหตุสมควรก็สามารถยกเว้นไม่คิดเป็นรายได้ได้ แต่ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นว่าเป็นเหตุอันไม่สมควรก็อาจถูกคิดเป็นรายได้ตามราคาตลาดในวันที่ให้บริการ เนื่องจากเจตนารมณ์ของการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์แสดงไว้ชัดเจนเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การกระทำใดๆของนิติบุคคลมีเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจเป็นสำคัญ ฉะนั้นจึงมี ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ ( 4 ) มารองรับเป็นกฎหมายเฉพาะทางในเรื่องนี้ไว้ชัดเจน