จัดการมรดก
ข้อเท็จจริง
บ้านที่โคราชเป็นที่ดินขนาด 1 ไร่เศษ บนพื้นที่นี้ประกอบไปด้วย
1.บ้านครอบครัวอยู่ปัจจุบัน 1 หลังจำนวน 4 คนคือ แม่ ,พี่สาวบุญธรรม,คุณยาย . ตัวเองมีแม่เป็นเจ้าบ้าน
2.บ้านว่างหนึ่งหลัง ไม่มีผู้อาศัย มีทะเบียนบ้าน โดยพี่สาวบุญธรรมเป็นเจ้าบ้าน 1 คน คุณยาย 1 คน ตัวเอง 1 คน น้ามีอาการเสียสติ 1 คน ( ในเอกสารแม่เป็นคนดูแล ส่วนคนอื่นที่มีชื่อเสียชีวิตหมดแล้ว
3.มีห้องเช่า 1 ชั้น 3 ห้อง เปิดให้เช่า ขออนุญาตก่อสร้างและเสียภาษีเทศบาลถูกต้อง ไม่มีชื่อเจ้าบ้าน แต่มีทะเบียนบ้านทุกเล่ม และใช้ชื่อพี่บุญธรรมเป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้าง
4.บ้านว่างไม่มีทะเบียนบ้าน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา น้ามีอาการเสียสติอาศัยอยู่คนเดียว
5.ห้องเช่า 1 ชั้น 2 ห้อง ติดกันไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างไม่มีเลขทะเบียนบ้าน แต่มีการขอไฟขอหม้อไฟฟ้าคือ แม่
สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดอยู่บนที่ดิน ซึ่งปัจจุบัน แม่โอนให้พี่บุญธรรมและตัวเองเป็นเจ้าของ มีชื่อในโฉนด 2 คน นอกเหนือพิ้นที่ที่มี บ้านน้าเป้นลูกยายปลูกอยู่ข่งหลัง เป็นที่ตาบอดไม่มีทางออก จึงอาศัยพื้นที่ของดิ
ฉันเป็นทางออก ประเด็นปัญหา คือ
ปัญหาที่ 1. น้าที่ขอใช้พื้นที่เดินผ่านซื้อรถและขับรถมาจอดบนที่ว่างที่เหลืออยู่จากสิ่งปลูกสร้าง โดยเอาไปจอดไว้ที่ใต้ถุนบ้านในข้อที่ 2 วึ่งมามีคนอยู่และเมื่อคุณยายล้มป่วยได้อาสัยช่วงจังหวะนี้ ขนขยะเศษ เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆมาทิ้งไว้ใต้ถุน และเริ่มขนของมาใส่ในห้องเก็บของ ส่วนพื้นที่ด้านบน ดิฉันล็อดกุญแจ สั่งช่างมาติดมุ้งลวด ขึ้นไปทำความสะอาดบ้างบางครั้ง ซึ่งมีพฤติกรรมเริ่มคุกคาม แสดงออกถึงกาลุกล้ำพื้นที่ของบ้านในข้อที่ 2
ปัญหาที่ 2. ในข้อที่5 มี 2 ห้อง
ห้องที่ 1 แม่สร้างไว้ให้น้า ซึ่งเขาพิการไม่มีครอบครัวได้อยู่อาสัยภายหลังเสียชีวิต ตอนแรกดิฉันตั้งใจจะทุบทิ้ง แต่แม่อนุญาตให้หลานซี่งเป็นน้าที่สร้างปัญหาใน ข้อ 1 มาอยู่ได้ โดยสัญญาปากเปล่าว่า พร้อมจะย้ายออกทุกกรณี ปัจจุบันอาศัยอยู่เกือบ 3 ปี ไม่มีท่าทางว่าจะขยับขยาย
ห้องที่ 2 เป็นห้องที่สร้างไว้เปล่าๆแต่มีคนมาขอเช่าพิ้นที่ขายก๋วยเตี๋ยว พื้นที่ด้านหน้าของห้องเช่าในข้อ 5 นี้ ใช้เป็นที่จอดรถตามสัญญาที่ผู้เช่าตกลงไว้ในราคาเดือนละ 600 บาท ปัจจุบันจ่ายภาษีค่าเช่าไปกับทางเทสบาล ทั้ง 2 ห้องใช้ไฟฟ้าหม้อเดียวกันที่เป็นชื่อของแม่ขอ แต่ติดมิเตอร์แยกวัดการใช้ไปแต่ละห้อง
ประเด็นคำถาม
1.ฉันจะสามารถป้องกันสิทธิการคุกคามได้อย่างไร เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ตอนนี้พยายามหาคนเช่าอยู่ แต่ก็ถูกน้าสะใภ้ข่มขู่จนรำคาณและย้ายออกไป สิทธิในบ้านดังกล่าวมีโอกาสถูกน้าฟ้องร้องเอาไปเป็นของเขาได้หรือไม่
2.ฉันจะดำเนินกิจการใดบ้างเพื่อเป็นการแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของทางกฎหมาย ในกรณีห้องที่ 1 ที่ลูกชายน้าเข้ามาอยู่ ตั้งใจว่าจะให้เขาทำเป็นสัญญาเช่ารายปี โดยคิดค่าเช่า 10 บาทต่อเดือน ถ้าเขาไม่ยอมฉันจะแจ้งตำรวจดำเนินคดีได้หรือไม่ และขั้นตอนดำเนินการจะเป็นอย่างไร อยากถามคำแนะนำ ที่เป็นการดำเนินการอย่างนุ่มนวลคะ เพราะคุณยายป่วยอยู่ไม่อยากมีเรื่อง แต่ถ้าปล่อยเวลาเนินนานไป ฉันกลัวจะเป็นปัญหาบานปลายภายหลัง
ฉันวางแผนไว้ว่าถ้าไม่มีคุณยายแล้ว ดิฉันจะล้อมรั้วพื้นที่นั้นโดยรอบโดยแบ่งทิ่ดินบางส่วนให้น้า เข้า ออกให้เป็นสัดส่วน ไม่ต้องไปใช้ทางร่วมกัน จะมีประเด็นที่เป็นปัญหาทางกฎหมายแล้วทำไม่ได้หรือไม่
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บรรพ 6
การดำเนินการให้คำปรึกษา
ในกรณีของผู้ร้อง จากข้อเท็จจริง สรุปได้ว่าที่ดินจำนวน 1 ไร่เศษ นั้น มีคุณแม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านทุกหลังด้วย ฉะนั้น แม่ผู้ร้องมีสิทธิ์จะให้ใครอยู่หรือไม่ให้ใครอยู่ก็ได้ ประเด็นแรกที่ถามว่าน้าสะใภ้จะมาฟ้องแม่เอาที่ดินได้หรือไม่นั้น ถามว่าจะฟ้องเรื่องอะไร ในเมื่อแม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อนุญาตให้น้าสะใภ้เข้ามาอยู่ในฐานะคนอาศัยเท่านั้น ไม่ได้ยกให้แต่ประการใด น้าสะไภ้ จะมาฟ้องโดยอ้างสิทธิ์อะไร ถ้ามีปัญหามาก แม่ผู้ร้องก็สามารถบอกให้เขาย้ายออกไปอยู่ที่อิ่นได้ ถ้าเขาไม่ยอมออก แม่ผู้ร้องสามารถฟ้องขับไล่ได้ตามกฎหมาย และถ้ามาเขามาข่มขู่คุกคาม แม่ผู้ร้องก็สามารถแจ้งความดำเนินได้ ส่วนน้าชายจะให้อยู่บ้านโดยให้ทำสัญญาเช่าบ้าน ก็สามารถทำได้เช่นกัน ถ้าน้าชายไม่ยอมทำก็บอกเขาว่าทำไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าเขาไม่ยอมก็ต้องบอกให้เขาย้ายออกไปเสีย ถ้าเขาไม่ยอมออก แม่ผู้ร้องก็ต้องชี้แจ้งให้เข้าใจ หรือนำผู้ใหญ่ที่เขาเคารพนับถือมาช่วยพูด โน้มน้าวจิตใจ เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ชี้ให้เห็นข้อดีของการทำสัญญาเช่าบ้าน ถ้าเขายังไม่ยอมอีก ต้องจ้างทนายความดำเนินการฟ้องขับไล่ต่อไป เพราะ เป็นเรื่องทางแพ่ง เกี่ยวกับทรัพย์สิน แม่ผู้ร้องจะไปแจ้งความร้องทุกข์ไม่ได้ ไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดิน ส่วนการล้อมรั้วพื้นที่นั้นโดยรอบโดยแบ่งทิ่ดินบางส่วนให้น้า เข้า ออกให้เป็นสัดส่วน ไม่ต้องไปใช้ทางร่วมกัน แม่ผู้ร้องก็สามารถทำได้เช่นกัน เพราะแม่ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ สามารถทำได้ตามกฎหมาย