การฟ้องขอเปิดทาง
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องซื้อที่ดินต่อจากเจ้าของเดิม ที่ดินดังกล่าวติดกับที่ดินของการเคหะแห่งชาติ เจ้าของเดิมได้ทำสัญญาไว้กับการเคหะฯว่า การเคหะจะเปิดทางเข้าออกไว้ให้แต่ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อมาการเคหะโอนที่ดินให้นิติบุคคลอาคารชุด ผู้ร้องก็ยังคงใช้ที่ดินเข้าออกเป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันนิติบุคคลจะทำการจดทะเบียนเข้าออกและปิดมิให้ผู้ร้องนำรถเข้าซึ่งที่ดินของผู้ร้องมีทางออกทางอื่นได้
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถฟ้องให้เปิดทางได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ,1832,1401
การดำเนินการให้คำปรึกษา
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งมีข้อตกลงให้ใช้ภาระจำยอมกับการเคหะแห่งชาติอยู่ก่อนแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้ซื้อที่ดินย่อมเป็นผู้สืบสิทธิที่จะใช้ทางภาระจำยอมต่อจากเจ้าของเดิมด้วย เพราะสิทธิในการใช้ภาระจำยอมไม่ใช้สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมต่อจากเจ้าของเดิมได้
ต่อมา การที่นิติบุคคลอาคารชุดมาซื้อที่ดินต่อจากการเคหะแห่งชาติ ข้อตกลงให้ใช้ทางภาระจำยอมซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ์ ย่อมไม่ผูกพันการเคหะแห่งชาติผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เพราะข้อตกลงให้ใช้ทางอย่างภาระจำยอมไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องได้ใช้ทางภาระจำยอมดังกล่าวนับจากวันที่การเคหะแห่งชาติโอน
ที่ดินระหว่างผู้ขายที่ดินเดิมมากว่า20 ปีแล้ว หากผู้ร้องใช้ทางภาระจำยอมโดยสงบไม่เคยถูกฟ้องขับไล่ เปิดเผย ด้วยเจตนาใช้ทางอย่างภาระจำยอม ผู้ร้องอาจได้ทางภาระจำยอมโดยอายุความได้ตาม มาตรา1382 ประกอบมาตรา 1401
ดังนั้น หากการเคหะแห่งชาติปิดทางภาระจำยอมดังกล่าว ผู้ร้องอาจฟ้องขอเปิดทางภาระจำยอมได้